วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ส่งาน เรื่องความหมาย Web Server, web browser ,HTTP ,HTML, XHTML,css , JavaScript,dom,xml,sgml,domaain name,ip address , apache , iis


                           เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server)
เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งให้บริการที่เก็บเว็บไซต์ (Server) แล้วให้ผู้ใช้ (Client) เรียกชมหน้าเว็บไซต์ได้โดยใช้โพรโทคอล HTTP ผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์

                                     การใช้งาน Web Server 

·         เมื่อผู้ใช้ป้อนยูอาร์แอล (URL) ในโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ เช่น IE, Firefox, Google chome
·         เครื่องไคลแอนท์จะแปลงชื่อโฮสต์ ภายในยูอาร์แอลเป็นไอพีแอดเดรส
·         เครื่องไคลแอนท์ติดต่อกับเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยปรกติจะใช้โพรโทคอล TCP พอร์ต 80
·         เมื่อทำการเชื่อมต่อเสร็จ จะใช้โพรโทคอล HTTP ในการเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการ
ซอฟต์แวร์ หรือ โปรแกรมที่นำมาทำ เว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด 4 อันดับแรก คือ

·         Apache HTTP Server จาก Apache Software Foundation
·         Internet Information Server (IIS) จากไมโครซอฟท์
·         Sun Java System Web Server จากซัน ไมโครซิสเต็มส์
·         Zeus Web Server จาก Zeus Technology
·         นอกจาก 4 ตัวนี้แล้วยังมี โปรแกรมอีกหมาลตัวที่นำมาทำ web server
สรุปเพื่อจำ
Web server คือ เครื่องผู้ให้เก็บข้อมุลเว็บโดยใช้ HT
HTTPTP(HyperText Transfer Protocol) ส่งสงผลเป็น html ให้ web Browser เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้ามาดูข้อมูล ภาพ เสียง ผ่าน web browser

Web Browser คือ โปรแกรมที่ทำหน้าที่แสดงเนื้อหาเว็บไซต์ โดยแปลง เป็น html script เป็นข้อความที่เรา สามารถดูได้ เว็บบราวเซอร์ที่ได้รับความนิยม ได้แก่ Internet Explorer, Netscape, Mozilla Firefox Google Chome


                           
                      เว็บเบราว์เซอร์ (web browser)
         เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
ประโยชน์ของ Web Browser
สามารถดูเอกสารภายในเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้ อย่างสวยงามมีการแสดงข้อมูลในรูปของ ข้อความ ภาพ และระบบมัลติมีเดียต่างๆ ทำให้การดูเอกสารบนเว็บมีความน่าสนใจมากขึ้น ส่งผลให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นในปัจจุบัน ปัจจุบัน 
web browser ส่วนใหญ่จะรองรับ html 5 และ อ่าน css เพื่อความสวยงามของหน้า web page

รายชื่อเว็บเบราว์เซอร์ (
web browser) ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย

·         Internet Explorer
·         Mozilla Firefox
·         Google Chrome
·         Safari
รูปโลโก้











                                      HTTP คืออะไร

            Hypertext Transfer Protocol (HTTP) เป็นกลุ่มของกฎสำหรับการแลกเปลี่ยนไฟล์ (เช่น ข้อความ ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และไฟล์มัลติมีเดียต่าง ๆ) บน World Wide Web ที่สัมผัสกับชุดโปรโตคอลแบบ TCP/IP (ซึ่งทำหน้าที่แลกเปลี่ยนสารสนเทศบนอินเตอร์เน็ต) โดย HTTP เป็นโปรโตคอลแบบประยุกต์ แนวคิดสำคัญของ HTTP คือไฟล์ต่าง ๆ สามารถเก็บการอ้างอิงไฟล์อื่น เพื่อเรียกหรือดึงไฟล์ที่ต้องการ ใน Web server ที่มีไฟล์ HTML และไฟล์อื่นที่เรียกว่า HTTP daemon ซึ่งเป็นโปรแกรมได้รับการออกแบบให้คอยรับและรักษาการขอ HTTP เมื่อการขอของ HTTP นั้นมาถึง ใน web browser ของเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ใช้จะเป็น HTTP client เพื่อส่งการขอไปยังเครื่องแม่ข่ายเมื่อมีการเรียกไฟล์จาก browser ของผู้ใช้ โดยเปิดไฟล์ของเว็บ (ด้วยการพิมพ์ชื่อ URL) หรือคลิกที่ Hypertext link จากนั้น browser จะสร้างการขอ HTTP และไปยัง IP address ที่ชี้โดย URL เมื่อ HTTP daemon ในเครื่องแม่ข่ายปลายทางได้รับการขอ และประมวลผลเรียบร้อย จะส่งไฟล์ที่ขอกลับมา
HTTP เวอร์ชันล่าสุด คือ HTTP 1.1










HTML

HTML คือ ภาษาที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ ย่อมาจากคำว่า Hypertext Markup Language โดย Hypertext หมายถึง ข้อความที่เชื่อมต่อกันผ่านลิ้ง (Hyperlink) Markup หมายถึง วิธีในการเขียนข้อความ language หมายถึงภาษา ดังนั้น HTML จึงหมายถึง ภาษาที่ใช้ในการเขียนข้อความ ลงบนเอกสารที่ต่างก็เชื่อมถึงกันใน cyberspace ผ่าน Hyperlink นั่นเอง
HTML เริ่มขึ้นเมื่อ ปี 1990 เพื่อตอบสนองความต้องการในการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันของนักวิทยาศาสตร์ระหว่างสถาบันและมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วโลก โดย Tim Berners-Lee นักพัฒนาของ CERN ได้พัฒนาภาษาที่มีรากฐานมาจาก SGML ซึ่งเป็นภาษาที่ซับซ้อนและยากต่อการเรียนรู้ จนมาเป็นภาษาที่ใช้ได้ง่ายและสะดวกในการแลกเปลี่ยนเอกสารทางวิทยาศาสตร์ผ่านการเชื่อมโยงกันด้วยลิ้งในหน้าเอกสาร เมื่อ World Wide Web เป็นที่แแพร่หลาย HTML จึงถูกนำมาใช้จนเกิดการแพร่หลายออกไปยังทั่วโลก จากความง่ายดายในการใช้งาน
HTML ในปัจจุบันพัฒนามาจนถึง HTML 4.01 และ HTML 5 กำลังจะออกมาในเร็วนี้ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาไปเป็น XHTML ซึ่ง คือ Extended HTML ซึ่งมีความสามารถและมาตรฐานที่รัดกุมกว่าอีกด้วย
โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของ W3C (World Wide Web Consortium)




                                                 XHTML คืออะไร

          World Wide Web Consortium (W3C) อธิบายว่า XHTML (Extensible Hypertext Markup language) เป็น "การกำหนดใหม่ของ HTML 4.0 ในฐานะเป็นการประยุกต์ของ Extensible Markup language (XML)" สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยทั้ง 2 คำ HTML เป็นกลุ่มรหัส (หรือ Markup Language) ที่ผู้เขียนนำมาใส่ไว้ในเอกสาร เพื่อทำให้สามารถแสดงผลงาน World Wide World Wide Web ซึ่ง HTML 4 เป็นเวอร์ชันปัจจุบัน ส่วน XML เป็นโครงสร้างของกลุ่มกฏ สำหรับวิธีการกำหนดของข้อมูล ที่สามารถใช้ร่วมกันบนเว็บการที่เรียกว่า "Extensible Markup Language" เพราะทุกคนสามารถประดิษฐ์กลุ่มของ Markup เฉพาะสำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะ และทุกคนสามารถใช้ได้ สามารถปรับและใช้สำหรับหลายวัตถุประสงค์ รวมถึงการปรากฏให้สิ่งที่พบเห็นบนเว็บเพจ จึงทำให้มีการเปลี่ยนกรอบของ HTML ให้เป็น XML ผลลัพธ์ คือ XHTML ซึ่งเป็นการประยุกต์พิเศษของ XML สำหรับเว็บเพจ
ตามข้อเท็จจริง XHTML เป็นเวอร์ชันที่ตามของ HTML 4 อาจจะนับเป็น HTML 5 หรือเรียกว่า XHTML 1.0 นอกจากนี้ XHTML สนับสนุน Markup ของ HTML 4.0 ทั้งส่วนประกอบและคุณลักษณะทั้งหมด แต่ต่างจาก HTML โดย XHTML สามารถสร้างส่วนเพิ่มเติมจากผู้คนที่ใช้ ส่วนประกอบใหญ่และคุณลักษณะ สามารถกำหนดและเพิ่มในเว็บได ้ทำให้สามารถมีวิธีการใหม่ที่จะจัดการเนื้อ และโปรแกรมแบบเว็บเพจ ในส่วนที่มองเห็นไฟล์ XHTML ดูเหมือนกับไฟล์ HTML

ข้อได้เปรียบ
จากคำกล่าวของ W3C ข้อได้เปรียบคือ "extensibility and portability"
extensibility หมายถึง แนวคิดใหม่ สำหรับการสื่อสารและการนำเสนอออกมาของเว็บ สามารถทดลองใช้งานโดยไม่ต้องรอ HTML เวอร์ชันใหม่และการสนับสนุนของ browser คุณลักษณะหรือ tag ใหม่ สามารถกำหนดได้และโปรแกรมที่ปลายทางสามารถทำตามคำสั่งได้ สิ่งใหม่จะเกิดขึ้นบนเว็บเพจ กลุ่มที่เจาะจงของ extension สำหรับ XHTML คือ แผนของ expression ทางคณิตศาสตร์, vector graphic และการประยุกต์ด้านมัลติมีเดีย ถ้า extensibility เป็นการนำไปสู่เพจที่ซับซ้อน และโปรแกรมขนาดใหญ่ขึ้น ข้อได้เปรียบ portability หมายถึง เว็บเพจสามารถทำให้ง่ายขึ้นกว่าที่เคยเป็นทำให้เครื่องมือขนาดเล็ก สิ่งนี้สำคัญมากสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ และอุปกรณ์ตามบ้านที่มีโมโครโพรเซสเซอร์ที่มีโปรแกรมอยู่และหน่วยความจำขนาดเล็ก XHTML กำหลดระดับหลายระดับของ Markup ที่ซับซ้อน และแต่ละเอกสารระบุระดับความซับซ้อนตั้งแต่เริ่มต้น โปรแกรมเป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่คาดว่าไฟล์คำสั่ง XHTML จะระบุระดับง่ายที่สุดของความซับซ้อนที่สามารถดูแล โดยโปรแกรมขนาดเล็กและหน่วยความจำ
ส่วนที่แตกต่างและพิเศษ
         - XHTML ต้องการกฎของรหัสที่ชัดเจน เช่น ต้องการเครื่องหมายการเปิด และปิดส่วนประกอบ (หรือไวยากรณ์) และส่วนประกอบทั้งหมดต้องเป็นอักษรตัวเล็ก HTML ไม่สนใจเครื่องหมาย
         - ในความหมายนี้ XHTML จะยุ่งกว่า HTML อย่างไรก็ตาม ไม่จำเป็นต้องยากกว่าในการอ่าน เพราะความเคร่งครัด จะบังคับให้มีลำดับมากขึ้นในการเขียนคำสั่ง นอกจากนี้ editor ส่วนใหญ่และเครื่องมือสร้างไฟล์ เพราะสร้างยังให้อ่านได้ง่าย
         - XHTML มีความเป็นโครงสร้างและแนวคิดเกี่ยวกับเนื้อหามากกว่า เมื่อรวมกับ style sheet จะมีวิธีการสร้างมากกว่า
         - XHTML ทำให้ง่ายขึ้นในการเพิ่มส่วนประกอบใหม่ สำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่ม (และพัฒนา browser หรือโปรแกรมประยุกต์อื่นสนับสนุน)
ข้อกำหนดของ XHTML กำลังอยู่ในขั้นตอนการร่างใน W3C

                                       


                                        css คือ 
 css คือ  วันนี้เราจะมานำเสนอคำว่า CSS ซึ่งย่อมาจากคำว่า Cascading Style Sheets นั้นเอง บางทีอาจจะเรียกว่า Style Sheets หรือ CSS ซึ่งจริงๆแล้วมันคือตัวเดียวกัน

การทำงานของ CSS
จะทำงานร่วมกับ HTML โดยจะกำหนดการแสดงผลของสิ่งต่างบนเว็บ เช่น สีอักษร สีพิ้นหลัง ขนาดตัวอักษร จัดการเลย์เอ้าท์ ให้สวยงามและอื่นๆ


ข้อดีสำคัญของ CSS
1. ทำมห้ขนาดไฟล์แต่ละหน้าเล็กลงกว่าเดิม เพราะใช้โค้ดน้อยกว่า
2. มีความยืดหยุ่นสูง ในการปรับแต่งแก้ไขในอนาคต
3. สามารถกำหนดแยกไว้ต่างหากจาก ไฟล์เอกสาร html และสามารถนำมาใช้ร่วม     กับเอกสารหลายไฟล์ได้ สำหรับการแก้ไขก็แก้เพียง จุดเดียวก็มีผลกับเอกสารทั้งหมดได้
4. สามารถจัดการเลย์เอ้าท์ได้อย่างละเอียด แม่นยำ
5. ง่ายในการเรียกดู Source
6. ใช้ดีกับระบบเสิร์ชเอ็นจิน ซึ่ง ระบบเสิร์สเอ็นจิ้นต่างๆ
7. และอีกมากมายค่ะ


ตัวอย่างการทำงาน
ไฟล์ stylesheet.css
.textpink13 {font-size: 13px; font-family: "verdana"; color: #FF00FF; text-decoration:none; font-weight: normal;}

ไฟล์ test.html
<html>
<head><link href="stylesheet.css" rel="stylesheet" type="text/css"></head>
<body>
    <span class="textpink13">Text Pink Color</span>
</body>
</html>

ผลลัพธ์
Text Pink Color

วันนี้เราจะมานำเสนอคำว่า CSS ซึ่งย่อมาจากคำว่า
Cascading Style Sheets นั้นเอง บางทีอาจจะเรียกว่า Style Sheets หรือ CSS ซึ่งจริงๆแล้วมันคือตัวเดียวกัน

การทำงานของ CSS
จะทำงานร่วมกับ HTML โดยจะกำหนดการแสดงผลของสิ่งต่างบนเว็บ เช่น สีอักษร สีพิ้นหลัง ขนาดตัวอักษร จัดการเลย์เอ้าท์ ให้สวยงามและอื่นๆ


ข้อดีสำคัญของ CSS
1. ทำมห้ขนาดไฟล์แต่ละหน้าเล็กลงกว่าเดิม เพราะใช้โค้ดน้อยกว่า
2. มีความยืดหยุ่นสูง ในการปรับแต่งแก้ไขในอนาคต
3. สามารถกำหนดแยกไว้ต่างหากจาก ไฟล์เอกสาร html และสามารถนำมาใช้ร่วม     กับเอกสารหลายไฟล์ได้ สำหรับการแก้ไขก็แก้เพียง จุดเดียวก็มีผลกับเอกสารทั้งหมดได้
4. สามารถจัดการเลย์เอ้าท์ได้อย่างละเอียด แม่นยำ
5. ง่ายในการเรียกดู Source
6. ใช้ดีกับระบบเสิร์ชเอ็นจิน ซึ่ง ระบบเสิร์สเอ็นจิ้นต่างๆ
7. และอีกมากมายค่ะ


ตัวอย่างการทำงาน
ไฟล์ stylesheet.css
.textpink13 {font-size: 13px; font-family: "verdana"; color: #FF00FF; text-decoration:none; font-weight: normal;}

ไฟล์ test.html
<html>
<head><link href="stylesheet.css" rel="stylesheet" type="text/css"></head>
<body>
    <span class="textpink13">Text Pink Color</span>
</body>
</html>

ผลลัพธ์
Text Pink Color










                     



                                      JavaScript

      JavaScript เป็นภาษาที่เป็น Script ที่อยู่ในเว็บไซต์ (ใช่ร่วมกับ HTML) เพื่อให้เว็บไซต์ของเราดูมีการเคลื่อนไหว สามารถตอบสนองผู้ใช้งานได้มากขึ้น ยกตัวอย่าง Hellomyweb.com ตรงเมนูด้านซ้ายมือจะเห็นว่าสามารถคลิกเพื่อดูหัวข้อภายในได้ และสามารถคลิกที่ลูกศรสีเขียวเพื่อปิดดูทั้งหมด และลูกศรสีแดงเพื่อเปิดทั้งหมด ข้อดีของ Javascript คือสามารถทำให้ผู้ใช้งานใช้เว็บไซต์ของเราได้ง่ายขึ้น รวมถึงดึงดูดความสนใจของผู้ใช้งานได้อีกด้วย ปัจจุบันนี้ Javascript นั้นเป็นมาตราฐานที่อยู่ใน W3C จึงมั่นใจได้ว่าทุกๆ Web browser รองรับการทำงานของ Javascript แน่นอน
เนื้อหาเบื้องต้นที่ผู้ใช้ต้องเข้าใจมาก่อนล่วงหน้าคือ HTML เพื่อให้สามารถทำความเข้าใช้ในเนื้อหาเรื่องนี้ได้ง่ายขึ้น

ก่อนจะเข้าเรื่องขอแนะนำตัว Javascipt กันก่อนดังนี้
  • JavaScript นั้นออกแบบให้ใช้งานร่วมกับ HTML นั่นคือต้องอยู่รวมไปกับ HTML Code
  • JavaScript เป็น script language ทำให้ผู้ใช้งานใช้งานได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานโปรแกรมมากนัก
  • JavaScript เป็นภาษาที่ใช้ทรัพยากรณ์เครื่องน้อยมาก (Javascript นั้นจะประมวลผลที่ฝั่งของเครื่องผู้ใช้ทำให้ไม่เป็นภาระกับเครื่องมากนักเมื่อเทียบกับ Flash
  • JavaScript ฟรีใครๆก็สามารถใช้งานได้

Java กับ Javascript แต่ต่างกันนะครับ หลายๆคนมักคิดว่าเป็นตัวเดียวกัน แต่จริงๆแล้วแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงทั้งความซับซ้อนของภาษา การใช้งาน ประสิทธิภาพ รวมถึงผู้พัฒนา โดย Java นั้นพัฒนาโดย Sun ซึ่งตอนนี้โดย Oracle ซื้อไปเรียบร้อยแล้ว ส่วน JavaScript นั้นพัฒนาโดยทีมงาน Netscape (Mozilla Foundation) ผู้พัฒนา Firefox Web browser ให้เราได้ใช้กันฟรีๆ แถมคุณภาพคับแก้ว

JavaScript ทำอะไรได้บ้าง
  • JavaScript ทำให้สามารถใช้เขียนโปรแกรมแบบง่ายๆได้ โดยไม่ต้องพึ่งภาษาอื่น เช่น PHP เน้นว่าแบบง่ายๆ โดยส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบของการแสดงผลมากกว่า
  • JavaScript มีคำสั่งที่ตอบสนองกับผู้ใช้งาน เช่นเมื่อผู้ใช้คลิกที่ปุ่ม หรือ Checkbox ก็สามารถสั่งให้เปิดหน้าใหม่ได้ ทำให้เว็บไซต์ของเรามีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งานมากขึ้น นี่คือข้อดีของ JavaScript เลยก็ว่าได้ที่ทำให้เว็บไซต์ดังๆทั้งหลายเช่น Google Map ต่างหันมาใช้
  • JavaScript สามารถเขียนหรือเปลี่ยนแปลง HTML Element ได้นั่นคือสามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแสดงผลของเว็บไซต์ได้นั่นเอง สั่งเกตจากเมนูต่างๆใน Hellomyweb.com สาารถเลื่อนขึ้นลงได้ หรือหน้าแสดงเนื้อหาสามารถซ่อนหรือแสดงเนื้อหาได้แบบง่ายๆนั่นเอง
  • JavaScript สามารถใช้ตรวจสอบข้อมูลได้ สังเกตว่าเมื่อเรากรอกข้อมูลบางเว็บไซต์ เช่น Email เมื่อเรากรอกข้อมูลผิดจะมีหน้าต่างฟ้องขึ้นมาว่าเรากรอกผิด หรือลิมกรอกอะไรบางอย่าง ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดใช้ JavaScript ตรวจสอบ
  • JavaScript สามารถใช้ในการตรวจสอบผู้ใช้ได้เช่น ตรวจสอบว่าผู้ใช้ใช้ Web browser อะไร
  • JavaScript สร้าง Cookies (เก็บข้อมูลของผู้ใช้ในคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เอง) ได้

ทั้งหมดนี้ก็เป็นเนื้อหาแบบรวมๆของ JavaScript นะครับหากมีคำถามหรือข้อสงสัยสามารถตั้งกระทู้ถามในเว็บบอร์ดได้ครับ ในหัวข้อต่อไปเราจะเริ่มหัดเขียน JavaScript กันแบบง่ายๆครับ



                                        DOM คือ
         DOM ย่อมาจาก Document Object Model เป็นโมเดลของโครงสร้างข้อมูลเอกสาร HTML สำหรับใช้เบราเซอร์, DOM จะแบ่งข้อมูลออกเป็นคอมโพเนนต์ต่างๆ เช่น หัวข้อ ย่อหน้า ตาราง ฯลฯ เพื่อให้สามารถจัดการกับเอกสารได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเพิ่มหรือลบ และแก้ไขคอมโพเนนต์ต่างๆ ซึ่งสามารถทำผ่านทาง Java หรือ JavaScript, โดยทาง W3C ได้ประกาศมาตรฐาน DOM Level 1 เมื่อ 1 ตุลาคม 1998 ซึ่งมีข้อกำหนดในการทำงานแบบ Interactive ในเบราเซอร์ของแต่ละบริษัท เช่น DHTML และ JavaScript ซึ่งมีโครงสร้างไม่เหมือนกัน







                                        XML คืออะไร

         XML (Extensible Markup Language) เป็นวิธีการที่ยืดหยุ่นในการสร้างรูปแบบสารสนเทศร่วม และการใช้ร่วม ทั้งรูปแบบและข้อมูลใน World Wide Web, Internet และที่ต่าง ๆ เช่น ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ที่เห็นด้วยกับมาตรฐานการอธิบายสารสนเทศของสินค้า จากนั้นทำการสร้างรูปแบบสารสนเทศของสินค้า โดยมาตรฐานเดียวกัน ทำให้ผู้ใช้สามารถส่งโปรแกรมที่เรียกว่า Intelligent Agent ไปยัง Web site ต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล และทำการเปรียบเทียบ ซึ่ง XML สามารถใช้โดยบุคคลทั่วไปหรือบริษัทที่ต้องการการใช้สารสนเทศทีมีอยู่
รูปแบบปัจจุบันของ XML ที่แนะนำโดย World Wide Web Consortium (W3C) นั้น มีความคล้ายคลึงกับภาษา HTML ที่ใช้สร้างเว็บเพจในขณะนี้ ทั้ง HTML และ XML ใช้สัญลักษณ์ "Markup" ในการเจาะจงเนื้อหาของเพจหรือไฟล์ ในภาษา HTML เจาะจงเนื้อหาของเว็บเพจสำหรับการแสดงออกมา เช่น < P > สำหรับการเริ่มย่อหน้าใหม่ ส่วนภาษา HTML เจาะจงเนื้อหาในแบบประเภทของข้อมูล เช่น เป็นการชี้ว่าข้อมูลที่มีอยู่เป็นหมายเลขโทรศัพท์ ซึ่งหมายความว่าไฟล์ XML สามารถประมวลผลข้อมูล โดยโปรแกรมหรือเก็บข้อมูลประเภทเดียวในเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น และแสดงบนเว็บเพจ เช่น หมายเลขโทรศัพท์ ได้รับมา สามารถเก็บ แสดง และหมุนได้
XML เป็น Extensible และสัญลักษณ์ "Markup" ไม่จำกัดและกำหนดเองได้ต่างจาก HTML นอกจากนี้ ภาษา XML เป็นภาษาที่ง่ายและใช้ได้สะดวกกับ Subnet ของภาษา Standard Generalized Markup Language ซึ่งเป็นมาตรฐานในการสร้างโครงสร้างเอกสาร โดยมีการคาดว่า HTML และ XML จะใช้ร่วมกันสำหรับการสร้างเว็บเพจ โปรแกรมประยุกต์ของ XML ได้รวม Microsoft Channel Definition Format ซึ่งเจาะจงช่องทางในการติดต่อกับเว็บที่สามารถดาว์นโหลดมาที่ฮาร์ดดิสก์ และกำหนดช่วงเวลาของการปรับปรุงตามสารสนเทศที่เปลี่ยน โดยไฟล์ CDF จะเก็บตำแหน่งเว็บเพจและความถี่ในการปรับปรุง นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึงการประยุกต์ของระบบธนาคาร การสั่งซื้อผ่าน E-commerce เป็นต้น














                                         SGML คืออะไร

     SGML (Standard Generalized Markup Language) เป็นมาตรฐาน สำหรับการระบุภาษา markup หรือ tag ของเอกสาร ข้อกำหนดโดยตัวเอง เป็นประเภทคำจำกัดของเอกสาร SGML ไม่ใช่ตัวภาษา แต่เป็นคำอธิบายสำหรับวิธีการระบุ ซึ่งเป็นข้อมูลแบบ metadata
SGML มีพื้นฐานทางความคิดที่เอกสารมีโครงสร้าง และส่วนประกอบที่สามารถอธิบาย โดยไม่มีการอ้างอิงถึง วิธีการที่ส่วนประกอบในการแสดงผล การแสดงภาพจริงของเอกสาร อาจจะมีความหลากหลาย ขึ้นกับการส่งออกของตัวกลาง และการอ้างอิงรูปแบบ ข้อได้เปรียบบางอย่างของเอกสารที่มีพื้นฐานจาก SGML คือ
            - สามารถสร้างโดยการคิดในลักษณะของโครงสร้างเอกสารแทนที่คุณลักษณะที่มองเห็น (ซึ่งมีการเปลี่ยนตลอดเวลา)
            - มีความกระทัดรัด เนื่องจาก compiler ของ SGML สามารถแปลเอกสารโดยการอ้างอิงถึง document tag definition(DTD)
            - จุดเริ่มต้นของเอกสารมุ่งไปที่ตัวกลางการพิมพ์สามารถปรับไปสู่ตัวอื่นได้ง่าย เช่น จอภาพ ภาษาที่ web browser นี้ ใช้ Hypertext Markup Language (HTML) เป็นดังตัวอย่างภาษาที่มีพื้นฐานมาจาก SGML
SQML มีพื้นฐาน จากภาษา Generalized Markup Language รุ่นก่อนที่พัฒนา โดย IBM รวมถึงภาษา General Markup Language (GML) และ ISIL



               


                  Domain name คืออะไร(โดเมน)

Domain name คืออะไร(โดเมน) ความหมาย โดเมน แบบง่ายๆ ก็คือ ชื่อเว็บไซต์ นั่นเอง ซึ่งโดยปกติ เว็บไซต์ ทุกเว็บ จะต้องมีที่อยู่ในโลกของ Internet ซึ่งก็คือ IP Address นั่นเอง ซึ่ง IP Adress ถือเป็น หมายเลขประจำตัว ของ คอมพิวเตอร์ ตัวนั้น เป็นตัวเลขที่จดจำได้ยาก ทำให้การอ้างถึง computer หรือ server ในเครือข่าย Internet โดยใช้หมายเลข IP ไม่สะดวกต่อผู้ใช้ คอมพิวเตอร์ ดังนั้นเพื่อให้เป็นการจำได้ง่าย จึงมีระบบ ชื่อคอมพิวเตอร์ ตาม มาตราฐาน ของ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งเรียกว่า "ดีเอ็นเอส" DNS (Domain Name System) หรือระบบชื่อ Domain name นั่นเอง โดยเป็นตัวอ้างอิงแทน IP Address
Domain Name System (ชื่อ DNS ) จะประกอบไปด้วย ชื่อเครื่อง computer ชื่อเครือข่ายท้องถิ่น Local ชื่อสับโดเมน (subdomain) และ ชื่อโดเมน Domain name โดย นามสกุล ของ Domain มักจะมีความหมายในตัวของมัน เช่น ตัวย่อของ
ชื่อประเทศ หรือ ชนิดของ องค์การ เช่น บริษัท สถาบันการศึกษา องค์กรของรัฐ องค์กรทางทหาร เป็นต้น ดังที่แสดงใน ตาราง ชื่อ Domain ข้างล่าง สำหรับคำถามอื่นๆ เกี่ยวกับเรื่องของ Domain สามารถอ่านได้ที่ FAQ Domain
Domain Name Table












                                 IP Address คืออะไร  

            IP Address ย่อมาจากคำเต็มว่า Internet Protocal Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลแบบ TCP/IP
ถ้าเปรียบเทียบก็คือบ้านเลขที่ของเรานั่นเอง ในระบบเครือข่าย จำเป็นจะต้องมีหมายเลข IP กำหนดไว้ให้กับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต้องการ IP ทั้งนี้เวลามีการโอนย้ายข้อมูล หรือสั่งงานใดๆ จะสามารถทราบตำแหน่งของเครื่องที่เราต้องการส่งข้อมูลไป จะได้ไม่ผิดพลาดเวลาส่งข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด  เช่น 192.168.100.1 หรือ 172.16.10.1  เป็นต้น  โดยหมายเลข IP Address ของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีค่าไม่ซ้ำกัน สิ่งตัวเลข 4 ชุดนี้บอก คือ Network ID กับ Host ID ซึ่งจะบอกให้รู้ว่า เครื่อง computer ของเราอยู่ใน network ไหน และเป็นเครื่องไหนใน network นั้น เราจะรู้ได้อย่างไรว่า Network ID และ Host ID มีค่าเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับว่า IP Address นั้น อยู่ใน class อะไร
            เหตุที่ต้องมีการแบ่ง class ก็เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบ เป็นการแบ่ง IP Address ออกเป็นหมวดหมู่นั้นเอง สิ่งที่จะเป็นตัวจำแนก class ของ network ก็คือ bit ทางซ้ายมือสุดของตัวเลขตัวแรกของ IP Address (ที่แปลงเป็นเลขฐาน 2 แล้ว) นั่นเอง โดยที่ถ้า bit ทางซ้ายมือสุดเป็น 0 ก็จะเป็น class A ถ้าเป็น 10 ก็จะเป็น class B ถ้าเป็น 110 ก็จะเป็น class C ดังนั้น IP Address จะอยู่ใน class A ถ้าตัวเลขตัวแรกมีค่าได้ตั้งแต่ 0 ? 127 (000000002 ? 011111112) จะอยู่ใน class B ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 128 ? 191 (100000002 ? 101111112) และ จะอยู่ใน class C ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 192 - 223 (110000002 ? 110111112) มีข้อยกเว้นอยู่นิดหน่อยก็คือตัวเลข 0, 127 จะใช้ในความหมายพิเศษ จะไม่ใช้เป็น address ของ network ดังนั้น network ใน class A จะมีค่าตัวเลขตัวแรก ในช่วง 1 ? 126
            สำหรับตัวเลขตั้งแต่ 224 ขึ้นไป จะเป็น class พิเศษ  อย่างเช่น  Class D ซึ่งถูกใช้สำหรับการส่งข้อมูลแบบ Multicast ของบาง Application และ Class E ซึ่ง Class นี้เป็น Address ที่ถูกสงวนไว้ก่อน ยังไม่ถูกใช้งานจริง ๆ  โดย Class D และ Class E นี้เป็น Class พิเศษ ซึ่งไม่ได้ถูกนำมาใช้งานในภาวะปกติ

            ตัวอย่าง IP Address
            Class A ตั้งแต่ 10.xxx.xxx.xxx
            Class B ตั้งแต่ 172.16.xxx.xxx ถึง 172.31.xxx.xxx
            Class C ตั้งแต่ 192.168.0.xxx ถึง 192.168.255.xxx

            จาก IP Address เราสามารถที่จะบอก ได้คร่าวๆ ว่า computer 2 เครื่องอยู่ใน network วงเดียวกันหรือเปล่าโดยการเปรียบเทียบ Network ID ของ IP Address ถ้ามี Network ID ตรงกันก็แสดงว่าอยู่ใน network วงเดียวกัน เช่น computer เครื่องหนึ่งมี IP Address 1.2.3.4 จะอยู่ใน network วงเดียวกับอีกเครื่องหนึ่งซึ่งมี IP Address 1.100.150.200 เนื่องจากมี Network ID ตรงกันคือ 1 (class A ใช้ Network ID 1 byte)

            วิธีตรวจสอบ IP Address
            1.คลิกปุ่ม Start เลือก Run
            2.พิมพ์คำว่า cmd กดปุ่ม OK
            3.จะได้หน้าต่างสีดำ
            4.พิมพ์คำว่า ipconfig กด enter
            5.จะเห็นกลุ่มหมายเลข IP Address






                                       Apache คือ


        Apache เป็นแม่ข่ายเว็บ (web server) ที่ให้ใช้ฟรี โดยการใช้ภายใต้การอนุญาตแบบ "open source" ในเวอร์ชัน 1.3 สามารถใช้กับระบบปฏิบัติแบบ UNIX ได้เกือบทั้งหมด ( เช่น Linux, Solaris, Digital UNIX และ AIX) ระบบ UNIX/POSIX (เช่น Rhapsody, BeOS และ BS2000/OSD) ระบบ AmigaOS และบนระบบ Windows NT/95/98 ตามการสำรวจของ Netcraft (www. Netcraft.com) ในเดือนกันยายน 1995 พบว่าแม่ข่ายเว็บมากกว่า 50 % ในเครื่องแม่ข่ายอินเตอร์เน็ตใช้ Apache แต่แม่ข่ายเว็บระบบ windows จาก Microsoft, Netscape และบริษัทฯ อื่น ๆ มีจำนวนผู้ใช้มากกว่า โดย Apache ได้รับความนิยมในกลุ่มเครื่องแม่ข่ายที่ใช้ระบบ UNIX




                                   IIS คืออะไร

       
IIS (Internet Information Service) เป็นกลุ่มเครื่องแม่ข่ายอินเตอร์เน็ต (เว็บ หรือ Hypertext Transfer Protocol, File Transfer Protocol และ gopher) และความสามารถอื่น ของระบบปฏิบัติการแม่ข่าย Microsoft Windows NT และ Windows 2000 ซึ่ง Microsoft ใช้ IIS ในการครอบครองตลาดเครื่องแม่ข่ายอินเตอร์เน็ต แข่งกับ Netscape, Sun Microsystems, O' Reilly และ อื่น ๆ โดย Microsoft ได้รวมกลุ่มของโปรแกรมไว้ใน IIS สำหรับการสร้างและการบริหาร web site, search engine, และสนับสนุนการเขียนโปรแกรมเว็บประยุกต์ในการเข้าถึงฐานข้อมูล Microsoft ได้ชี้ว่า IIS ได้รวมอย่างเหนียวแน่นกับ Windows NT และ Windows 2000 servers ในหลายวิธี ทำให้มีผลลัพธ์การบริการเว็บเพจที่เร็วกว่า

        บริษัทที่ซื้อ IIS สามารถสร้างเพจ สำหรับ web site โดยใช้ Microsoft Front Page (ซึ่งเป็นการอินเตอร์เฟซกับผู้ใช้แบบ WYSIWYG) ผู้พัฒนาเว็บสามารถใช้เทคโนโลยี Active Server Page (ASP) ซึ่งหมายความว่า โปรแกรมประยุกต์ รวมถึง ActiveX control สามารถฝังในเว็บเพจที่มีการปรับปรุงเนื้อหา เมื่อส่งกลับไปให้ผู้ใช้ ผู้พัฒนายังสามารถเขียนโปรแกรมการกรองคำขอ และดึงเว็บเพจที่ถูกต้องสำหรับผู้ใช้ที่แตกต่างกัน โดยการใช้อินเตอร์เฟซ Internet service application program interface (ISAPI) โปรแกรม ASP และ ISAPI ทำงานได้มีประสิทธิภาพบน common gateway interface และโปรแกรม server-side include
Microsoft ได้รวบรวมความสามารถพิเศษ สำหรับการออบแบบการบริหารแม่ข่าย สำหรับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต โดยรวมการบริการทั้งหมดและผู้ใช้ไว้ใน windows เดียว สำหรับการบริหาร และได้รับการออกแบบให้ง่ายในการเพิ่มส่วนประกอบแบบ "snap-ins" ซึ่งไม่ต้องมีการติดตั้ง administrative window สามารถเจาะจงสำหรับการเข้าถึงลูกค้าแต่ละราย
IIS ได้รวมส่วนความปลอดภัยและสัญญาว่าติดตั้งได้ง่าย การทำงานของ IIS ใกล้ชิดกับ Microsoft Transaction service ในการเข้าถึงฐานข้อมูลและให้การควบที่ระดับทรานแซคชัน รวมถึงทำงานกับ Microsoft Netshow ในการส่งเสียงและวิดีโอแบบต่อเนื่อง ทั้งแบบหน่วงเวลาหรือสด


1 ความคิดเห็น: