วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

ส่งงาน


ส่งงาน
1จงอธิบายความแตกต่างของสถาปัตยกรรมโพรเซสเซอร์แต่ละชนิดต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่างซีพียูประกอบด้วย

         - RISC (Reduced Instruction Set Computing)
 (Compl Reduced Instruction Set Computer (RISC) เป็นไมโครโพรเซสเซอร์ชนิดหนึ่งที่มีชุดคำสั่งจำนวนไม่มากนัก ตรงข้ามกับ CISC (Complex Instruction Set Computer) คอมพิวเตอร์แบบ RISC สามารถกระทำการตามคำสั่งได้อย่างรวดเร็วมากเพราะคำสั่งจะสั้น นอกจากนั้นชิพแบบ RISC ยังผลิตได้ง่ายกว่าอีกด้วย (เนื่องจากใช้จำนวนทรานซิสเตอร์น้อยกว่า) ตัวอย่างชิพประเภทนี้ได้แก่ ARM, DEC Alpha, PA-RISC, SPARC, MIPS, และ PowerPC
RISC เป็นสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน และยังมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับในอนาคต ทั้งนี้เพราะการใช้สถาปัตยกรรมแบบนี้เป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานเร็วขึ้น ปกติ หากพิจารณาจำนวนบิตที่เท่ากันระหว่างสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์แบบ CISC กับ RISC แล้ว จะพบว่าคอมพิวเตอร์แบบ RISCจะเร็วกว่าแบบ CISC ประมาณ 3 เท่า หลักการอย่างง่ายของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบRISC คือ ออกแบบให้ซีพียู (CPU) ทำงานในวงรอบสัญญาณนาฬิกา (Cycle) ที่แน่นอน โดยพยายามลดจำนวนคำสั่งลงให้เหลือเป็นคำสั่งพื้นฐานมากที่สุด แล้วใช้หลักการไปป์ไลน์ (pipeline) คือ การทำงานแบบคู่ขนานชนิดเหลื่อมกัน(overlap) ปกติแล้วการทำงานใน 1 ชุดคำสั่งจะใช้เวลามากกว่า 1 วงรอบสัญญาณนาฬิกา (cycle) หากแต่การทำคำสั่งเหล่านั้นให้มีการทำงานในลักษณะเป็นแถว (pipe) และขนานกันด้วย จึงทำให้ได้ค่าเฉลี่ยโดยรวมของเวลาเป็นคำสั่งละหนึ่งวงรอบสัญญาณนาฬิกา (cycle)
ตัวอย่างสถาปัตยกรรมแบบ RISC ได้แก่ mips รุ่น R 2000 ได้ออกแบบชุดคำสั่งไว้ชัดเจนว่ามีการทำงานแบบ 5 ขั้นตอน นั่นคือเป็นการทำงานแบบขนานถึง 5 ระดับด้วยกัน
             - CISC (Compl Reduced Instruction Set Computer (RISC) เป็นไมโครโพรเซสเซอร์ชนิดหนึ่งที่มีชุดคำสั่งจำนวนไม่มากนัก ตรงข้ามกับ CISC (Complex Instruction Set Computer) คอมพิวเตอร์แบบ RISC สามารถกระทำการตามคำสั่งได้อย่างรวดเร็วมากเพราะคำสั่งจะสั้น นอกจากนั้นชิพแบบ RISC ยังผลิตได้ง่ายกว่าอีกด้วย (เนื่องจากใช้จำนวนทรานซิสเตอร์น้อยกว่า) ตัวอย่างชิพประเภทนี้ได้แก่ ARM, DEC Alpha, PA-RISC, SPARC, MIPS, และ PowerPC
RISC เป็นสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน และยังมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับในอนาคต ทั้งนี้เพราะการใช้สถาปัตยกรรมแบบนี้เป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานเร็วขึ้น ปกติ หากพิจารณาจำนวนบิตที่เท่ากันระหว่างสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์แบบ CISC กับ RISC แล้ว จะพบว่าคอมพิวเตอร์แบบ RISCจะเร็วกว่าแบบ CISC ประมาณ 3 เท่า หลักการอย่างง่ายของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบRISC คือ ออกแบบให้ซีพียู (CPU) ทำงานในวงรอบสัญญาณนาฬิกา (Cycle) ที่แน่นอน โดยพยายามลดจำนวนคำสั่งลงให้เหลือเป็นคำสั่งพื้นฐานมากที่สุด แล้วใช้หลักการไปป์ไลน์ (pipeline) คือ การทำงานแบบคู่ขนานชนิดเหลื่อมกัน(overlap) ปกติแล้วการทำงานใน 1 ชุดคำสั่งจะใช้เวลามากกว่า 1 วงรอบสัญญาณนาฬิกา (cycle) หากแต่การทำคำสั่งเหล่านั้นให้มีการทำงานในลักษณะเป็นแถว (pipe) และขนานกันด้วย จึงทำให้ได้ค่าเฉลี่ยโดยรวมของเวลาเป็นคำสั่งละหนึ่งวงรอบสัญญาณนาฬิกา (cycle)
ตัวอย่างสถาปัตยกรรมแบบ RISC ได้แก่ mips รุ่น R 2000 ได้ออกแบบชุดคำสั่งไว้ชัดเจนว่ามีการทำงานแบบ 5 ขั้นตอน นั่นคือเป็นการทำงานแบบขนานถึง 5 ระดับด้วยกัน
- CISC (Compl Reduced Instruction Set Computer (RISC) เป็นไมโครโพรเซสเซอร์ชนิดหนึ่งที่มีชุดคำสั่งจำนวนไม่มากนัก ตรงข้ามกับ CISC (Complex Instruction Set Computer) คอมพิวเตอร์แบบ RISC สามารถกระทำการตามคำสั่งได้อย่างรวดเร็วมากเพราะคำสั่งจะสั้น นอกจากนั้นชิพแบบ RISC ยังผลิตได้ง่ายกว่าอีกด้วย (เนื่องจากใช้จำนวนทรานซิสเตอร์น้อยกว่า) ตัวอย่างชิพประเภทนี้ได้แก่ ARM, DEC Alpha, PA-RISC, SPARC, MIPS, และ PowerPC
RISC เป็นสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน และยังมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับในอนาคต ทั้งนี้เพราะการใช้สถาปัตยกรรมแบบนี้เป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานเร็วขึ้น ปกติ หากพิจารณาจำนวนบิตที่เท่ากันระหว่างสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์แบบ CISC กับ RISC แล้ว จะพบว่าคอมพิวเตอร์แบบ RISCจะเร็วกว่าแบบ CISC ประมาณ 3 เท่า หลักการอย่างง่ายของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบRISC คือ ออกแบบให้ซีพียู (CPU) ทำงานในวงรอบสัญญาณนาฬิกา (Cycle) ที่แน่นอน โดยพยายามลดจำนวนคำสั่งลงให้เหลือเป็นคำสั่งพื้นฐานมากที่สุด แล้วใช้หลักการไปป์ไลน์ (pipeline) คือ การทำงานแบบคู่ขนานชนิดเหลื่อมกัน(overlap) ปกติแล้วการทำงานใน 1 ชุดคำสั่งจะใช้เวลามากกว่า 1 วงรอบสัญญาณนาฬิกา (cycle) หากแต่การทำคำสั่งเหล่านั้นให้มีการทำงานในลักษณะเป็นแถว (pipe) และขนานกันด้วย จึงทำให้ได้ค่าเฉลี่ยโดยรวมของเวลาเป็นคำสั่งละหนึ่งวงรอบสัญญาณนาฬิกา (cycle)
ตัวอย่างสถาปัตยกรรมแบบ RISC ได้แก่ mips รุ่น R 2000 ได้ออกแบบชุดคำสั่งไว้ชัดเจนว่ามีการทำงานแบบ 5 ขั้นตอน นั่นคือเป็นการทำงานแบบขนานถึง 5 ระดับด้วยกัน
- CISC (Complex Instruction Set Computing)





2. จงอธิบายการทำงานของสถาปัตยกรรมแบบไปป์ไลน์ (Pipeline) และซูเปอร์สเกลาร์ (Superscalar)
       เทคโนโลยีของสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็วมาก   เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้ในปัจจุบันมีประสิทธิภาพมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปเมื่อ 2-3 ปีก่อนหลายเท่า   ทั้งนี้เนื่องจากมีการวิจัยและสร้างหน่วยประมวลผลกลางและระบบคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก
เทคโนโลยีของหน่วยประมวลผลกลาง
"หน่วยประมวลผลแบบ RISC
       ชุดคำสั่งของหน่วยประมวลผลยุคเก่ามีลักษณะเป็นแบบ CISC : Complex Instruction Set Computer  นั่นคือชุดคำสั่งจะหนึ่ง ๆ จะมีความซับซ้อนมาก  การที่ชุดคำสั่งซับซ้อนทำให้การออกแบบส่วนควบคุมภายในหน่วยประมวลผลทำได้ยาก     ในปัจจุบันหน่วยประมวลผลต่าง ๆ ได้เปลี่ยนแนวทางในการพัฒนาไปเป็นแบบ RISC : Reduced Instruction Set Computer โดยเน้นชุดคำสั่งที่มีความซับซ้อนน้อยลง แต่มีความเร็วในการทำงานสูงขึ้น  การทำให้ชุดคำสั่งมีรูปแบบที่ง่ายขึ้นทำให้การออกแบบส่วนควบคุมทำได้ง่ายขึ้น  และยังทำให้สามารถใช้วิธีการแบบไปป์ไลน์ (Pipeline) และซูปเปอร์สเกลาร์ (Superscalar) ในการเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยประมวลผลได้ง่ายขึ้นด้วย
"ไปป์ไลน์ (Pipeline)
       หน่วยประมวลผลรุ่นใหม่จะมีการประมวลผลแบบไปป์ไลน์ กล่าวคือจะมีการ fetch  decode และ exeute  คำสั่งเหลื่อมกันดังรูปที่ 4.5  การประมวลผลเหลื่อมกันนี้ทำให้ประสิทธิภาพของการประมวลผลสูงขึ้นมาก
        แบบปกติ                                                                     แบบไปป์ไลน์

รูปแสดงการทำงานแบบไปป์ไลน์เทียบกับการทำงานแบบปกติ

"        ซูเปอร์สเกลาร์ (Superscalar)
       ในหน่วยประมวลผลที่มีประสิทธิภาพสูงบางรุ่น จะประมวลผลชุดคำสั่งหลายชุดคำสั่งได้พร้อมกัน การที่หน่วยประมวลผลประมวลผลคำสั่งได้หลายชุดพร้อมกันนี้เรียกว่า ซูเปอร์สเกลาร์
ระบบบัสสมัยใหม่ ระบบคอมพิวเตอร์สมัยก่อน หน่วยประมวลผลมีความเร็วในการประมวลผลไม่มากนักทำให้การโอนย้ายข้อมูลระหว่างหน่วยประมวลผลกับหน่วยความจำกระทำได้โดยไม่ก่อให้เกิดการเสียเวลา   แต่การพัฒนาของหน่วยประมวลผลเป็นไปอย่างรวดเร็วกว่าการพัฒนาของหน่วยความจำมากทำให้ปัจจุบันอัตราการประมวลผลของหน่วยประมวลผลสูงกว่าอัตราการโอนย้ายข้อมูลระหว่าหน่วยประมวลผลกับหน่วยความจำมาก   สถานะการณ์เช่นนี้ก่อให้เกิดปัญหาในรูปแบบคอขวด (Bottleneck problem) ขึ้นนั่นคือ จุดเชื่อมต่อระหว่างหน่วยความจำกับหน่วยประมวลผลทำให้ประสิทธิภาพของระบบลดลง เราเรียกคอขวดระหว่างหน่วยประมวลผลกับหน่วยความจำว่า คอขวดของวอนนอยแมน (Von Neumann Bottleneck)
       วิธีการแก้ปัญหานี้คือการใช้หน่วยความจำที่มีความเร็วสูงมากขนาดเล็กมาเป็นบัฟเฟอร์ (ที่พักข้อมูลชั่วคราว) ระหว่างหน่วยความจำและหน่วยประมวลผล หน่วยความจำที่มีความเร็วสูงนี้เรียกว่า หน่วยความจำแคช (cache memory) ในหน่วยประมวลผลปัจจุบันหลายรุ่น ได้มีการบรรจุหน่วยความจำแคชลงไปภายในไมโครโปรเซสเซอร์ด้วย ลักษณะของบัสที่มีการใช้หน่วยความจำแคชเป็นดังรูป



3. จงอธิบายความแตกต่างระหว่าง Core และ Thread ของโพรเซสเซอร์ (ซีพียู)
            ความแตกต่างระหว่าง cpu duo core และ cpu quad core
คงหมายถึง CPU ที่มี 2 แกนประมวลผล กับ 4 แกนประมวลผล อยู่ในตัวเดียว ชิมิ ( แต่ว่าไม่ระบุยี่ห้องั้นผมจะเอา Intel มาเปรียบเทียบแล้วกัน )

      CPU Dual Core (
ไม่ใช่ Duo Core เด้อ..??! ) ของ Inel สำหรับ Desktop PC นั้น พอจะแบ่งได้ตามองค์ประกอบและโครงสร้างได้เป็น 4 แบบ
ทั้งหมดที่มีในปัจจุบัน โดยแต่ละแบบ จะมีโครงสร้างภายใน และ การทำงานในรูปแบบที่ต่างกันออกไปดังนี้ครับ


4.Cache Memory
หน่วยความจำแบบแคช (Cache Memory)

หน่วยความจำแบบแคช (Cache Memory) คืออะไร
หน่วยความจำแบบแคช (Cache Memory) เป็นหน่วยความจำประเภทความเร็วสูง โดยมากจะใช้เป็นหน่วยความจำประเภท RAM ซึ่งใช้งานร่วมกับ CPU ที่ต้องการประสิทธิภาพในการประมวลผลสูง เพื่อไม่ให้เกิดสถานะรอ (Wait State) ของ CPU ขึ้น การทำงานของ Cache จะต้องมีวงจรคอยควบคุมเพื่อใหข้อมูลที่ CPU ใช้งานอยู่บ่อยๆ อยู่ในหน่วยความจำแบบ Cache มาก ที่สุด ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความเร็วในการทำงานของ CPU นั่นเอง

มี Cache แล้วดีอย่างไร
เนื่องจากเทคโนโลยีการผลิตวงจรรวม (Integrated Circuit) พัฒนาไปมาก ทำให้ CPU ที่มีการผลิตออกมานั้น นับวันจะมีความเร็วสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามพัฒนาการของเทคโนโลยี จึงทำให้เกิดปัญหาความเร็วที่แตกต่างกันระหว่าง CPU กับหน่วยความจำหลักมีมากขึ้นตามไปด้วย เป็นเหตุให้ประสิทธิภาพการทำงานของ CPU ต่ำลง เนื่องจาก CPU ไม่สามารถทำงานได้เต็มขีดความสามารถ (ความเร็ว) ที่มันมีอยู่ ดังนั้นหน่วยความจำ Cache จึงเป็นกลไกเข้ามาช่วยบรรเทาปัญหานี้ โดย Cache จะเป็นตัวกลางในการนำข้อมูลจาก ROM RAM หรือฮาร์ดดิสก์ที่ CPU ต้องการใช้งานเข้ามาเก็บพักไว้ที่ Cache ซึ่งนั่นทำให้ CPU ไม่ต้องดำเนินการผ่านหน่วยความจำหลัก ซึ่งเป็นหน่วย ความจำปกติที่ CPU ทำงานด้วย

คำอธิบาย: https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgWfFUQTyyqDNyDTGDyboCbX10o3oUhmJXVW9PMTPXAoPgLRVsYDlUAf-CAEqy4b3Z2muQNXvnZvYWdGsvyWxXP4UKRdZ4cqIA6w2CUveNSVceC4YMix9udosP9pLY9HnibW8GukA1QdSWd/s400/cache.JPG

การทำงานของ Cache
โครงสร้างการทำงานของ Cache ค่อนข้างจะซับซ้อนและมีราคาแพง ถ้าเทียบกับหน่วยความจำประเภทอื่น ในคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Cache นั้น เมื่อใดที่ CPU ทำการอ่านข้อมูลของหน่วยความจำ วงจรควบคุม Cache จะทำการตรวจสอบดูว่าข้อมูลที่ CPU ต้องการอ่านนั้นอยู่ภายใน Cache ถ้าอยู่แล้วก็จะทำการส่งไปให้ CPU เลย ซึ่งจะสามารถส่งได้อย่างรวดเร็วมาก แต่ถ้าข้อมูลนั้นไม่มีอยู่ใน Cache CPU จะต้องรอชั่วขณะ เพื่อให้วงจรควบคุมอ่านข้อมูลจากหน่วย ความจำหลักมาใช้ และในขณะเดียวกันก็จะนำข้อมูลนั้นไปไว้ใน Cache ด้วย ซงจะทำให้การอ่านข้อมูลในครั้งต่อไปทำได้เร็วขึ้น
เหตุผลที่ทำให้ Cache เป็นที่นิยม คือ โปรแกรมส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะใช้ข้อมูลในหน่วยความจำส่วนใดส่วนหนึ่งซ้ำแล้วซ้ำอีก ดังนั้น เมื่อส่วนที่ถูกใช้งานบ่อยๆ ถูกนำมาไว้ใน Cache แล้วก็จะทำให้ประสิทธิภาพของระบบดีขึ้น

หน่วยความจำ Cache สามารถแบ่งได้ 2 แบบ
1. Memory Cache:
จะเป็นการใช้หน่วยความจำ RAM ชนิดความเร็วสูงเป็นพิเศษมาเก็บคำสั่ง และข้อมูลที่ใช้บ่อยๆ จากหน่วยความจำ RAM แบบปกติของระบบ เพื่อลดเวลาที่ CPU ใช้ในการอ่าน RAM ซึ่งมีความเร็วในการทำงานช้ากว่าการทำงานของ CPU มาก
2. Device Cache:
เป็นการออกแบบเพื่อเพิ่มความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลในอุปกรณ์อื่นๆ เช่น หน่วยความจำสำรอง โดยการจัดสรร RAM มาใช้เก็บข้อมูลและคำสั่งต่างๆ ที่ใช้บ่อยๆ จากอุปกรณ์ที่มีความเร็วต่ำ เช่น ฮาร์ดดิสก์ มาไว้ใน Cache ทำให้จำนวนครั้งที่ต้องการเรียกใช้ข้อมูลจากอุปกรณ์เหล่านั้นลดลง นอกจากนี้ในบางครั้งจะพบกับ Buffer Memory ซึ่งเป็น Cache สำหรับอุปกรณ์แบบง่ายๆ ทำหน้าที่พักข้อมูลจากอุปกรณ์ไว้ชั่วคราว เพื่อรอให้ CPU มาเรียกอ่านไปใช้ โดยไม่มีการใช้วิธีที่ซับซ้อนในการเลือกว่าข้อมูลใดมีโอกาสสูงสุดที่จะถูกเรียกใช้งาน



6.หลักการทำงานของ Chipset
               โดยทั่วไป ชุดChipset จะประกอบด้วย Chip มากกว่า 1 Chip และ chipset แต่ละตัวจะมี transistor มากกว่า 1 ล้านตัว ซึ่งมีหลากหลายหน้าที่ โดยสรุปได้ดังนี้

 1.  หลักการทำงานหลักของ Chipset คือควบคุมการทำงานและการเชื่อมต่อของการรับส่งข้อมูลระหว่างหน่วยความจำหลัก หรือ อุปกรณ์รับเข้า-ส่งออก (input/output device) หรือ อุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ 
 2.
  ทำหน้าที่ควบคุมและเป็นทางผ่านของข้อมูลจากอุปกรณ์ต่าง ๆทุกอย่างที่ซีพียูไม่ได้ทำ เช่น การส่งข้อมูลจากหน่วยความจำหลักไปยังซีพียู การส่งผ่านข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ จากไดรฟ์ซีดีรอม รวมถึงการส่งข้อมูลของแผงวงจร (Card) ต่าง ๆ 
    3.
  ทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดจัดการไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการกำหนดความถี่ ให้แก่บัสทั้งระบบ หรือจะเป็นการจำกัดสิทธิในการให้ใช้ ซีพียู กำหนดให้เมนบอร์ดนั้นต้องมี Slot แบบใดบ้าง
4.   สนับสนุนการทำงานของ Processor หลายตัว (Multi Processor) โดยที่วงจรควบคุมของ Chip Set จะทำหน้าที่ประสานงานการทำงานของ Processor ทั้งสอง ไม่ให้แต่ละ Processor รบกวนการทำงานของกันและกัน โดยทำงานร่วมกับระบบปฏิบัติการโดยเรียกการทำงานในลักษณะนี้เรียกว่า SMP ( Symmetric Multiprocessing )

โครงสร้างของ Chipset
             โดยปกติอุปกรณ์ต่างๆ และส่วนประกอบของเมนบอร์ด มักจะทำงานร่วมกันในลักษณะที่เรียกว่า "สอดประสานไปด้วยกัน (Synchronous)" โดยใช้ความถี่สัญญาณนาฬิกาเป็นหลัก และบนเมนบอร์ดจะมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนหนึ่งที่คอยทำหน้าที่ให้กำเนิดสัญญาณนาฬิกา ชิปเซตจะทำหน้าที่ช่วยจัดการ ในการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต่อพ่วงกับเมนบอร์ด โดยแบ่งออกเป็น 2 โครงสร้าง คือ
       1.
       โครงสร้าง North Bridge และ South Bridge
     2.
       โครงสร้าง Accelerated Hub Architecture



7.ECC (error correction [or correcting] code" หรือ error checking and correcting)
      ยอมให้ข้อมูลท่ำลังอ่านหรือส่งผ่านได้รับการตรวจสอบความผิดพลาด และเมื่อจำเป็นให้แก้ไขทันที สิ่งนี้ต่างจาก parity-checking ที่ความผิดพลาดไม่เพียงแต่ตรวจจับแต่รวมถึงการแก้ไข ECC กำลังได้รับการออกแบบเพิ่มขึ้นกับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลและฮาร์ดแวร์ส่งผ่านตามอัตราข้อมูล (และอัตราความผิดพลาด) เพิ่มขึ้น
นี่เป็นการทำงานสำหรับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล
         1. เมื่อหน่วยของข้อมูล (word) ได้รับการจัดเก็บใน RAM หรืออุปกรณ์ต่อพ่วง คำสั่งที่อธิบายอนุกรมบิต ในคำได้รับการคำนวณและจัดเก็บในรูปหน่วยข้อมูล สำหรับแต่ละหน่วยข้อมูล 64 บิต มี 7 บิตพิเศษจำเป็นในการเก็บคำสั่งนี้
         2. เมื่อหน่วยข้อมูลได้รับคำขอสำหรับการอ่าน คำสั่งของการจัดเก็บและเกี่ยวกับการอ่าน word ได้รับการคำนวณอีกครั้งด้วยการใช้อัลกอริทึมดั้งเดิม คำสั่งที่สร้างใหม่นี้ได้รับการเปรียบเทียบกับคำ word ด้วยคำสั่งที่สร้างขึ้นเมื่อ word ได้รับการจัดเก็บ
         3. ถ้าคำสั่งตรงกัน ข้อมูลปราศจากความผิดพลาดและได้รับการส่ง
         4. ถ้าคำสั่งไม่ตรง บิตหายไปหรือบิตผิดพลาดได้รับหาผ่านการเปรียบเทียบคำสั่งและบิตได้รับการส่งมอบหรือแก้ไข
         5. ไม่มีความพยายามทำการแก้ไขข้อมูลที่ยังคงอยู่ในอุปกรณ์จัดเก็บ ในที่สุด จะมีการวางโดยข้อมูลใหม่และ บิตไม่ถูกต้องจะ หายไปโดยสมมติว่าความผิดพลาดเป็นความชั่วคราว
         6. ความผิดพลาดที่เกิดซ้ำในที่เดียวกันในอุปกรณ์จัดเก็บหลังจากระบบปิดและชี้อีกครั้งถึงความผิดพลาดฮาร์ดแวร์ถาวรและข่าวสารได้รับการส่งไปยังล๊อกหรือไปยังผู้บริหารระบบเพื่อชี้ตำแหน่งการเกิดความผิดพลาดปัจจุบัน
         ที่ระดับ word 64 บิต parity-checking และ ECC ต้องการบิตพิเศษจำนวนเดียวกัน โดยทั่วไป ECC เพิ่มความน่าเชื่อถือของการคำนวณหรือระบบสื่อสาร (หรือส่วนของระบบ) โดยปราศจากการเพิ่มต้นทุน คำสั่ง Reed-Solomon ได้รับการใช้โดยทั่วไป สิ่งเหล่านี้สามารถตรวจจับและฟื้นฟูบิต ถูกลบรวมถึงบิตไม่ถูกต้อง




8. จงอธิบายเกี่ยวกับ PCI Express

              ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น Hard Drive, อุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ, LAN card, Sound Card, USB และ Firewire จะส่งข้อมูลภายในระบบโดยผ่าน I/O เดียวกัน ซึ่งเป็นแบบนี้ตั้งแต่สมัยเครื่อง PC รุ่น 486 ซึ่ง PCI bus จะส่งถ่ายข้อมูลที่ 33 MHz และสูงสุดได้ที่ 133 MHz ซึ่งในปัจจุบัน Pentium 4 กับ Memory DDR นั้นส่งข้อมูลซึ่งกันและกันได้ที่ 2.1 GB/s โดยผ่าน Memory Bus อีกทั้ง AGP 8x สามารถส่งข้อมูลได้ถึง 2.1 GB/s ด้วยเช่นกัน โดยยังคงมี PCI ซึ่งเป็น Technology เก่าและเป็นตัวที่ทำให้เกิดการกระจุกตัวของข้อมูลเนื่องจากความเร็วที่ยังไปไม่ถึงไหน
คำอธิบาย: http://www.it.co.th/image/computer/pci01.jpg
         ณ ปัจจุบันได้มีแนวทางใหม่เพิ่มความเร็วสำหรับ PCI โดยมีการออกแบบ PCI-X (extended) และ PCI Express ขึ้นมาแต่ยังคงอาศัยหลักการและต้นแบบของ PCI ในสมัยปี 90 มาใช้ ซึ่งวิธีการทั้งสองได้ถูกแจ้งเกิดโดยกลุ่ม PIC-SIG (Peripheral component interconnect –specification) โดยแยก ให้ PCI-X นั้นสำหรับ Server และ PCI Express สำหรับ PC โดย ณ ที่นี้จะเน้นที่ PCI Express
ในวันที่ 17 เมษายน 2002 ได้มีการเปิดตัวมาตรฐาน PCI Express (3GIO หรือ 3rd Generation I/O โดยมี ISA เป็น 1st Generation และ PCI เป็น 2nd Generation) ซึ่งเป็น Technology PCI แบบใหม่ที่ยอมให้อุปกรณ์ภายใน PC นั้นเช่น CPU ติดต่อโดยตรงกับอุปกรณ์ที่ต้องการติดต่ออยู่ได้ทั้งหมดโดยแยกจากกันเป็นอิสระ และสามารถเชื่อมต่อกันได้เต็ม bandwidth ซึ่งเป็นแบบ Point to Point หรือติดต่อกันโดยไม่ต้องแบ่ง bandwidth กับอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆเลย
คำอธิบาย: http://www.it.co.th/image/computer/pci02.jpg
รูป Slot เทียบระหว่างบน PCI แบบเดิม กับ ล่าง PCI Express x16 164-pin
โดย PCI Express ได้ออกมา 2 Version คือ X1 ซึ่งใช้กับอุปกรณ์ที่ไม่ต้องการ Bandwidth สูง หรือเพียง 400 MB/s และ X16 ที่ใช้กับ Graphic Card ที่ 4 GB/s ระบบ Bus ยังคงเป็นแบบอนุกรมซึ่งสามารถส่งและรับข้อมูลได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน คล้าย Technology Hypertransport ของ AMD โดยจะส่งข้อมูลอยู่ในรูแบบของ Packet เป็นแบบเดียวกับการทำงานของ OSI model ใน Layer 3 (network Layer) การส่งข้อมูลของ PCI Express จะส่งไปตาม Line หรือ Lane ซึ่งต่อตรงกับอุปกรณ์ที่กำลังติดต่อด้วย และ ค่าที่ระบุว่ามีกี่ Line หรือ Lane คือ ตัวเลขหลัง “X” โดย x1 = 1 Line, x4 = 4 Line, x8 = 8 Line และ x16 = 1 6 Line สำหรับความเร็วนั้นเนื่องจาก PCI Express จะส่งข้อมูลไปกลับได้พร้อมกัน จึงต้องคิดเป็น 2 เท่า ฉะนั้น เมื่อความเร็วถูกระบุที่ 1 GB/s สำหรับ 4x ความเร็วรวมจะอยู่ที่ 2 GB/s
คำอธิบาย: http://www.it.co.th/image/computer/pci03.jpg
รูป Mainboard BTX ต้นแบบที่มีหลากหลาย Slot อยู่รวมกัน
Express พร้อมที่จะรองรับ Driver ของ PCI ที่ใช้ Software และ OS ที่มีอยู่ในปัจจุบัน อีกทั้งยังประหยัดพลังงานโดย PCI จะใช้แรงดันที่ 5 V แต่สำหรับ PCI Express ใช้เพียง 3.3 V ยังรวมการทำงานแบบ Hot-Pluggable (เสียบ Card โดยไม่ต้อง ปิดเครื่อง) ส่วนการทำงานในด้าน Graphic ระดับ High end นั้น PCI Express ได้ถูกออกแบบให้รองรับการใช้พลังงานที่สูงถึง 75 W ซึ่งจะแบ่งเป็นชนิด x1 จะใช้พลังงานตามการออกแบบอยู่ที่ 25W ในความเป็นจริงใช้เพียง 10W และที่เกินนั้นรองรับ PCI Express x8 slot ขณะที่ AGP เองรองรับได้ 25 W ถึง 42 W เท่านั้น ในส่วนของอุปกรณ์ที่ต่อพ่วงที่ต้องการต่อออกจาก PCI Express Slot นั้นจะใช้ Cable ได้ยาวถึง 5 เมตรPCI
คำอธิบาย: http://www.it.co.th/image/computer/pci04.jpg
       PCI Express ที่มีความเร็วในการส่งข้อมูลต่างกันสามารถใช้งานด้วยกันได้ เนื่องจากการออกแบบที่ได้ถูกพิจารณาตั้งแต่แรกของ PCI Express สามารถที่จะใช้งานร่วมกันได้ เช่น ถ้ามี Card PCI Express ชนิด x8 ก็สามารถใช้ได้กับ Slot ที่มีความเร็วที่สูงกว่า คือ x16 แต่ยังคงวิ่งอยู่ที่ 4 เลนเหมือนเดิม
คำอธิบาย: http://www.it.co.th/image/computer/pci05.jpg
รูป Slot เทียบระหว่าง PCI Express x16 กับ PCI Express x1
ส่วน PCI-X เป็น Technology Bus ที่ใช้ใน PC โดยให้ Chip นั้นแลกเปลี่ยนข้อมูลได้เร็วกว่า PCI แบบเก่า PCI-X ในปัจจุบันมี 2 version PCI-X 1.0 และ PCI-X 2.0 โดย Version 1.0 รองรับในระดับความเร็วตั้งแต่ PCI-X66 ถึง PCI-X133 ส่วนใน Version 2.0 จะรองรับที่ PCI-X 66 ถึง PCI-X 533 ซึ่งจะสามารถส่งข้อมูลได้ถึง 4.2 GB/S โดยตัวเลขที่ต่อท้าย X นั้นระบุถึงค่า MHz ของ clock โดย BUS สำหรับ PCI-X อยู่ที่ 64 Bit
ตารางเปรียบเทียบ PCI ชนิดต่างๆ




Standard
Bus width
Clock
Transfer
PCI 2.3
32 bit
33 MHz 
66 MHz
133 MB/s 
266 MB/s
PCI 64
64 bit
33 MHz 
66 MHz
266 MB/s
533 MB/s
PCI-X 1.0
64 bit
66 MHz 
100 MHz
133 MHz
 
533 MB/s
800 MB/s
1066 MB/s
PCI-X2.0(DRR)
64 bit
133 MHz
2132 MB/s
PCI-X2.0(QCR)
64 bit
133 MHz
4264 MB/s
PCI Express
1 Line, 8 bit
2.5 GHz
512 MB/s
PCI Express
2 Lines, 8 bit
2.5 GHz
1 GB/s (Duplex)
PCI Express
4 Lines, 8 bit
2.5 GHz
2 GB/s (Duplex)
PCI Express
8 Lines, 8 bit
2.5 GHz
4 GB/s (Duplex)
PCI Express
16 Lines, 8 bit
2.5 GHz
8 GB/s (Duplex)
PCI Express
32 Lines, 8 bit
2.5 GHz
16 GB/s (Duplex)



9. SSE4 คืออะไร
        SSE4 - Streaming SIMD Extensions (ชื่อเดิมคือ ISSE หรือ Internet Streaming SIMD Extensions)  มีทั้งหมด 54 ชุด
     SSE4.1  คือชุดคำสั่งใหม่ที่ทาง Intel เพิ่มขึ้นมาในซีพียูตระกูล Penryn โดยมีทั้งหมด 47 ชุดคำสั่ง โดยจะช่วยในด้านภาพกราฟิก การประมวลผลด้าน Video และช่วยซีพียูในการประมวลผลด้านกราฟิกด้วย

คำอธิบาย: http://i473.photobucket.com/albums/rr92/Thanadej/SSE41.jpgคำอธิบาย: http://i473.photobucket.com/albums/rr92/Thanadej/SSE42.jpg

SSE4.2  จะถูกเพิ่มเข้ามาใน Core i7 (formerly Nehalem).   โดยเพิ่มมาอีก 8 ชุด
              Instruction Description
CRC32 - Accumulate CRC32C value using the polynomial 0x11EDC6F41 (or, without the high order bit, 0x1EDC6F41).[5]
PCMPESTRI - Packed Compare Explicit Length Strings, Return Index
PCMPESTRM - Packed Compare Explicit Length Strings, Return Mask
PCMPISTRI - Packed Compare Implicit Length Strings, Return Index
PCMPISTRM - Packed Compare Implicit Length String, Return Mask
PCMPGTQ - Compare Packed Data For Greater Than
POPCNT - Population count (count number of bits set to 1) - bit manipulation; shares the same opcode for JMPE, the instruction used in Itanium CPUs to escape from IA-32 mode.
POPCNT - instruction may also be implemented in some processors that do not support the other SSE4 instructions and a separate bit can be tested to confirm POPCNT presence.


10. จงอธิบายเกี่ยวกับพอร์ตดังต่อไปนี้
DisplayPort
คือมาตรฐานการเชื่อมต่อจอแสดงผลแบบดิจิตอลที่พัฒนาขึ้นโดยสมาคมมาตรฐานวิดีโออิเล็กทรอนิกส์ (Video Electronics Standards Association หรือ VESA) DisplayPort คือระบบเชื่อมต่อสัญญาณภาพ/เสียงแบบดิจิตอลในรูปแบบใหม่ซึ่งไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์และค่าสิทธิ์การใช้งาน ระบบนี้ออกแบบมาสำหรับการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับจอแสดงผล หรือคอมพิวเตอร์กับระบบโฮมเธียเตอร์ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาดู "DisplayPort? - คุณลักษณะและข้อดี"
HDMI
(High-Definition Multimedia Interface) คือรูปแบบการรับส่งสัญญาณภาพ/เสียงโดยเป็นการรับส่งสัญญาณในรูปแบบดิจิตอลที่ไม่มีการบีบอัด
HDMI ใช้สายสัญญาณเพียงเส้นเดียว โดยรองรับรูปแบบต่างๆ ของสัญญาณภาพโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์ เช่น ความละเอียดมาตรฐาน ความละเอียดพิเศษ และความละเอียดสูง รวมทั้งยังสามารถส่งสัญญาณเสียงไปพร้อมกันได้อีกถึง 8 ช่องสัญญาณ และใช้ได้กับมาตรฐานต่างๆ ของโทรทัศน์แบบดิจิตอล
HDMI ใช้สำหรับเชื่อมต่อแหล่งสัญญาณภาพ/เสียงแบบดิจิตอลต่างๆ เช่น เครื่องเล่นแผ่นBlu-ray กล่องแปลงสัญญาณโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ และเครื่องวิดีโอเกมเข้ากับอุปกรณ์เครื่องเสียงดิจิตอล จอคอมพิวเตอร์ และโทรทัศน์แบบดิจิตอลที่รองรับ HDMI
DVI-I
(Digital Video Interface-Integrated) สามารถรองรับได้ทั้งสัญญาณอนาล็อกและสัญญาณดิจิตอลโดยใช้สายเพียงเส้นเดียว สายสัญญาณสามารถส่งสัญญาณได้ทั้งแบบดิจิตอลเป็นดิจิตอล หรือแบบอนาล็อกเป็นอนาล็อกก็ได้ แต่จะไม่สามารถส่งสัญญาณข้ามชนิดกันได้ (ดิจิตอลเป็นอนาล็อกหรืออนาล็อกเป็นดิจิตอล) ถ้าการ์ดแสดงผลของคุณมีพอร์ต DVI-I คุณสามารถต่ออุปกรณ์ DVI-D (Digital Video Interface-Digital) หรือ DVI-A (Digital Video Interface-Analogue) ส่วนใหญ่ได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องใช้ตัวแปลงสัญญาณแยกต่างหาก
VGA
(Video Graphics Array) สามารถรองรับฮาร์ดแวร์ด้านกราฟิกเบื้องต้นได้ หากยังไม่มีการโหลดไดรเวอร์เฉพาะสำหรับอุปกรณ์ลงในคอมพิวเตอร์
USB
หรือ Universal Serial Bus คือมาตรฐานของบัสภายนอกซึ่งสามารถรองรับอัตราการรับส่งข้อมูลได้ถึง 480 Mbps ในกรณีที่เป็น USB 2.0 USB ช่วยให้คุณสามารถต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้ากับคอมพิวเตอร์ของคุณได้โดยใช้การเชื่อมต่อมาตรฐานเพียงชนิดเดียว นอกจากนี้ USB ยังรองรับการติดตั้งแบบ Plug-and-Play และ Hot Swappingอีกด้วย
มาตรฐาน USB มีการใช้คอนเนคเตอร์แบบ A และ B เพื่อป้องกันความสับสน
คอนเนคเตอร์แบบ A ใช้สำหรับต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเรียกว่า upstream
คอนเนคเตอร์แบบ B ใช้สำหรับส่งข้อมูลและต่อเข้าอุปกรณ์แต่ละตัว หรือเรียกว่า downstream
RJ-45
พอร์ตอีเทอร์เน็ตจะใช้ตัวนำแบบสายคู่บิดเกลียวในการเชื่อมต่อเครือข่ายและเพิ่มความเร็วในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตให้สูงขึ้น
สายที่ออกจากพอร์ตนี้สามารถต่อเข้ากับฮับเครือข่าย (อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน) ต่อเข้าโดยตรงเข้ากับเคเบิลโมเด็ม หรือโมเด็ม DSL หรือต่อกับเกตเวย์อินเตอร์เน็ตซึ่งทำหน้าที่จัดสรรการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูงไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องต่างๆ
ข้อมูลจะเคลื่อนที่ผ่านระบบเหล่านี้ด้วยความเร็ว 10 Mbps, 100 Mbps หรือ 1000 Mbps ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเร็วที่การ์ดเครือข่ายในคอมพิวเตอร์ของคุณสามารถรองรับได้ ในระหว่างการใช้งาน ไฟที่อุปกรณ์เหล่านี้จะกะพริบ
ไฟ ACT จะกะพริบเมื่อมีการรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายเข้าไปยังหรือออกจากพอร์ต ไฟสัญลักษณ์ 10 หรือ 100 จะแสดงถึงความเร็วของข้อมูล 10 หมายความว่ามีการรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายด้วยความเร็ว 10 เมกะบิตต่อวินาที ในขณะที่ 100 หมายความว่ามีการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 100 เมกะบิตต่อวินาที
FireWire
หรือที่นักวิชาการเรียกว่า IEEE1394 High Performance Serial Bus มีลักษณะรูปร่างหน้าตาและลักษณะการใช้งานคล้าย USB มาก แต่ FireWire สามารถทำงานที่ความเร็วสูงกว่า USB มาก (ปัจจุบันมี Data Transfer Rate 400 Mbps) และ FireWire มีจุดใช้งานหลักอยู่บนเครื่อง Macintosh ซึ่งในปัจจุบันมี mainboard ของ PC ทั่วไปที่มี port FireWire มาให้บ้างแล้ว แต่ยังไม่เป็นที่นิยมกัน เนื่องจากราคาค่อนข้างสูง และอุปกรณ์สนับสนุนส่วนใหญ่ยังเป็นของ Macintosh
PS/2 (เริ่มนำมาใช้โดย IBM ในปี 1987) ย่อมาจาก Personal System/2 โดยทั่วไปแล้ว พอร์ต PS/2 มักจะถูกนำมาใช้สำหรับการต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์
RS232
พอร์ตอนุกรม (Serial Port) คืออินเตอร์เฟสการรับส่งข้อมูลแบบอนุกรมซึ่งมีการรับหรือส่งข้อมูลครั้งละหนึ่งบิต โดยปกติแล้ว พอร์ตอนุกรมถูกจัดเป็นฮาร์ดแวร์มาตรฐาน RS-232 อุปกรณ์ที่มักใช้พอร์ตอนุกรมประกอบด้วย โมเด็มแบบไดอัลอัพ เครื่องพิมพ์ และเมาส์แบบอนุกรม


  11. จงอธิบายเกี่ยวกับโพรเซสเซอร์ (ซีพียู) ของแต่ละค่ายต่อไปนี้
อินเทล (Intel) เป็นบริษัทผลิตชิพสารกึ่งตัวนำที่ใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อวัดจากรายได้ บริษัทอินเทลเป็นผู้คิดค้นไมโครโพรเซสเซอร์ตระกูลx86 ออกมาวางจำหน่าย ซึ่งเป็นไมโครโปรเซสเซอร์ที่ใช้กันมากที่สุดในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล[2] อินเทลก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1968 ในชื่อ Integrated Electronics Corporation โดยมีสำนักงานอยู่ที่ซานตาคลารา รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา อินเทลยังเป็นผู้ผลิตชิพเซตของเมนบอร์ด, เน็ตเวิร์คการ์ดและแผงวงจรรวม, แฟลชเมโมรี, ชิพกราฟิค, โปรเซสเซอร์ของระบบฝังตัว ตลอดจนอุปกรณ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร
อินเทลก่อตั้งขึ้นโดย กอร์ดอน มัวร์ (Gordon Moore) และโรเบิร์ต นอยซ์ (Robert Noyce) ผู้เชี่ยวชาญด้านสารกึ่งตัวนำ โดยเป็นอดีตพนักงานของ Fairchild Semiconductor พนักงานยุคแรกเริ่มที่สำคัญอีกคนของอินเทลคือ แอนดรูว์ โกรฟ ซึ่งในภายหลังเป็นผู้บริหารคนสำคัญ ที่ทำให้อินเทลก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทระดับโลกในปัจจุบัน
แต่เดิมนั้น ชื่อของอินเทลจะเป็นที่รู้จักเฉพาะในหมู่วิศวกรและนักเทคโนโลยีเท่านั้น แต่หลังจากที่โฆษณา อินเทล อินไซด์ ประสบผลสำเร็จอย่างกว้างขวางในช่วงทศวรรษ 1990 ชื่อของอินเทลก็กลายเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปในทันที โดยมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่รู้จักคือ หน่วยประมวลผลกลางตระกูลเพนเทียม (Pentium)
AMD Fusion ที่เรียกว่า สบายน์ (Sabine) คือ Platformใหม่จาก AMD เรียกตัวนี้ว่าเป็น A8 - 3530MX จะผลิตบนเทคโนโลยี 32 นาโนเมตร ตัวประมวลผลแบบ quad-core สามารถ clocks ได้ที่ 1.9GHz และ boasts ได้ 4MB ที่ แคช แอล 2 สามารถ boasts เพิ่มขึ้นถึง 2.6GHz ในโหมด TurboCore เป็นข่าวลือจากเว็บไซต์Donanimhaber ของตุรกี.. ที่ล่าสุดนั้นได้กล่าวได้ว่าเป็นการแพ็ครวมกับกราฟิก Radeon HD 6620G พร้อมสนับสนุน ทั้งแรม DDR3 1,600 MHz และหน่วยความจำ low-power DDR3L ข่าวที่ออกมานี้ทาง AMD ยังไม่ได้ออกมายืนยันเป็นทางการ
ARM เป็นชื่อบริษัทหนึ่งที่ออกแบบไมโครโปรเซสเซอร์ขาย
(คล้ายๆ กับ Intel และ AMD) ครับ บริษัทนี้ ออกแบบ
อย่างเดียว ไม่ผลิตเอง ใครอยากผลิต ต้องมาซื้อลิขสิทธิ์
บริษัทที่ผลิตไมโครโปรเซสเซอร์ที่ใช้
สถาปัตยกรรมของ ARM ก็จะตั้งชื่อไมโครโปรเซสเซอร์ไปต่างๆ
นาๆ อาทิ strongARM จุดเด่นของสถาปัตยกรรม ARM
คือ เป็น RISC ที่มีอัตราส่วนของความเร็วต่อกำลังไฟฟ้าที่ใช้สูงมาก
(ทำงานเร็วแต่กินไฟน้อย) ดังนั้น ARM จึงเป็นที่นิยมของพวกอุปกรณ์
พกพาทั้งหลายที่ต้องใช้แบตเตอรรี่ครับ
การใช้งานก็ไม่ต่างอะไรกับ ไมโครโปรเซสเซอร์อื่นๆ แต่โดยมาก
แล้วผู้ผลิตมักจะรวมส่วนของวงจรอื่นๆ เข้าไปในซีพียูด้วย เช่น
ส่วนควบคุมหน่วยความจำ หรือส่วนควบคุมหน่วยแสดงผล ฯลฯ
ถ้าสนใจลองเข้าไปดูในเวป www.atmel.com ในส่วนของ
AT91 ARM Thumb ลองค้นดูในนั้นจะมีชื่อตัวแทนจำหน่าย
ในเมืองไทยด้วย ส่วนราคาคงต้องโทรไปคุยดูครับ เข้าใจว่า
คงต้องสั่งเข้ามา
NVIDIA GEFORCE GRID
โปรเซสเซอร์ GeForce Grid ที่ใช้สถาปัตยกรรม Kepler ใหม่จาก NVIDIA ได้รับการออกแบบมาเฉพาะเพื่อส่งมอบแพลตฟอร์มที่ดีที่สุดสำหรับการให้บริการระบบ cloud gamingโปรเซสเซอร์ GeForce Grid สามารถแก้ไข 3 ปัญหาหลักที่เป็นอุปสรรคทำให้กราฟิกการ์ดรุ่นก่อนไม่สามารถถ่ายทอดประสบการณ์ ด้วยเทคโนโลยีเหล่านี้ที่สร้างสัญญาณ ว่ามันสามารถที่จะยกระดับการปฏิบัติและประสิทธิภาพ และยังนำพาเอาประสบการณ์การเรนเดอร์เกมส์จากเ cloud มาสู่นักเล่นเกมส์เข้าไว้ด้วยกัน
ลดอาการหน่วงของจอแสดงผลระยะไกล
เทคโนโลยีการควบคุมระยะไกลแบบดั้งเดิมที่อาการหน่วงซึ่งสัมพันธ์กันกับระบบเครือข่าย การเรนเดอร์ภาพ จับภาพและเข้ารหัสในเซิร์ฟเวอร์ ด้วยสถาปัตยกรรม Kepler ใหม่นี้ มีความสามารถในการลดอาการหน่วงของจอแสดงผลระยะไกลที่แฝงในตัว ความได้เปรียบนี้เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการให้บริการ cloud gaming ช่วยลดอาการหน่วงของการเล่นเกมส์ได้มากที่สุด สถาปัตยกรรม Kepler ของกราฟิกการ์ดนี้ ยังมี เครื่องเข้ารหัส H.264 ประสิทธิภาพสูง ซึ่งมีความสามารถในการเข้ารหัสได้ถึง 4 simultaneousพร้อมกัน 720p 30fps กับคุณภาพสตรีมที่เหนือกว่า นี่เป็นการก้าวกระโดดที่ยิ่งใหญ่สำหรับประสิทธิภาพระบบ clould เซิร์ฟเวอร์ โดยตัดฟังก์ชั่นการเข้ารหัสจากCPUออกไป และใช้ฟังก์ชั่นการเข้ารหัสตามขนาดและจำนวนของกราฟิกการ์ดในเซิร์ฟเวอร์แทน บวกกับการเข้ารหัสแบบ on-chip สามารถส่งผ่านการจับภาพที่มีความหน่วงต่ำแบบsingle pass ซึ่งสร้างจากสถาปัตยกรรมที่มีประสิทธิภาพที่สุดและความหน่วงต่ำที่สุด
ประสิทธิภาพการจ่ายพลังงาน
เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน / วัตต์ ตามความต้องการ ด้วยวิธีการจัดการพลังงานรูปแบบใหม่ทั้งหมด ทุกๆหน่วยฮาร์ดแวร์ใน Kepler ได้รับการออกแบบอย่างพิถีพิถันเพื่อให้ประสิทธิภาพที่โดดเด่นต่อวัตต์ รวมทั้งสตรีมมิ่งมัลติโปรเซสเซอร์แบบใหม่ที่เรียกว่า“VGX” ผลที่ได้คือการปฎิวัตินวัตกรรมในการแก้ปัญหาใหม่ที่มีประสิทธิภาพการทำงาน / วัตต์ สำหรับการให้บริการขอบงระบบ cloud gaming
ผู้ใช้งาน GEFORCE สามารถที่จะเลือกเครื่องได้
The GeForce USM จะทำการโหลดเกมส์ที่สมบูรณ์แบบของ NVIDIA GeForce server-editionจากเกมส์ชั้นนำในท้องตลาดที่เข้ากันได้และประสิทธฺภาพบน GPU แบบแท้จริงหรือแบบเสมือน เครื่องเหล่านั้นก็ยังรองรับเกมส์ที่ใช้เทคโนโลยี DX-9, DX-10, DX-11, และOpenGL ซึ่งได้ถูกปรับให้เข้ากันได้สำหรับ Cloud Gaming ด้วยระยะเวลาแฝงที่น้อยสำหรับแอพพลิเคชั่นหรือบนเดสท๊อป

12. จงอธิบายเกี่ยวกับเทคโนโลยีของอินเทลดังต่อไปนี้
   - Intel? Turbo Boost Technology คืออะไรและทำงานอย่างไร
     Turbo Boost คือ การใช้งานแกนหลักของโปรเซสเซอร์โดยอัตโนมัติในความถี่ที่เร็วกว่าความถี่ที่กำหนด โดยทำงานภายใต้พลังงาน, อุณหภูมิ, และข้อจำกัดที่ระบุไว้ของ Thermal Design Power (TDP) ผลที่ได้คือประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นสำหรับทั้งแอพพลิเคชั่นซิงเกิลเธรด และแอพพลิเคชั่นมัลติเธรด


-      Intel vPro Technology ปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัย เพิ่มระบบปรับแต่งตนเองที่คิดได้โดยอัตโนมัติ


    บริษัทอินเทลคอร์ปอเรชันมีการเปิดตัว อินเทลวี โปรเทคโนโลยี รุ่นที่สาม ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีการปรับปรุงในเรื่องของระบบรักษาความปลอดภัยให้ดีขึ้น รวมทั้งลดเวลาและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดูแลระบบได้ ด้วยคุณสมบัติที่ทำให้พีซีเสมือนกับคิดและทำงานได้ด้วยตนเอง อินเทล วีโปร เทคโนโลยีรุ่นใหม่สำหรับพีซียังสามารถรองรับการพัฒนารูปแบบและผลิตภัณฑ์เพื่อการทำงานเสมืองจริงใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการขององค์กรขนาดเล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอีกด้วย

คำอธิบาย: http://www.quickpcextreme.com/blog/wp-content/uploads/2008/09/core2vpro_78_trans.gif
อินเทลวี โปรเทคโนโลยี (เดิมใช้ชื่อรหัสว่า  McCreary)  รุ่นใหม่เป็นการรวมเอาประสิทธิภาพในด้านการประหยัดพลังงานของ อินเทลคอร์2 ดูโอ โปรเซสเซอร์ หรือ อินเทลคอร์™2 คว๊อด โปรเซสเซอร์ เข้ากับชิปเซ็ต  อินเทล Q45 เอ็กซ์เพรส ชิปเซ็ต และ อินเทล 82567LM กิกะบิต เน็ตเวิร์ค คอนเนคชั่นที่มาพร้อมกับ เทคโนโลยี อินเทลแอคทีฟ แมเนจเมนท์ 5.0 อีกด้วย

ท่ามกลางหลากหลายนวัตกรรมทันสมัยที่คิดค้นมาเพื่อรองรับการทำงานของธุรกิจ เทคโนโลยีเวอร์ชั่นปี 2551 นี้จัดเป็นครั้งแรกที่ช่วยให้แผนกไอทีขององค์กรต่างๆ สามารถขยายขอบเขตการบริหารและปกป้องพีซีได้มากกว่าขอบเขตไฟร์วอลล์ในองค์กรได้ ด้วยคุณสมบัติ Remote Alert ตัวใหม่ จะทำให้พีซีที่มีอาการผิดปกติ (แม้ในขณะที่เครื่องปิดอยู่) ซึ่งอาจเป็นอาการที่นอกขอบเขตที่กำหนดเอาไว้สามารถ แจ้งไปยังแผนกไอทีเพื่อขอความช่วยด้วยตนเองได้

นอกจากนั้นการใช้คุณสมบัติใหม่อีกประการหนึ่งคือ  Remote Scheduled Maintenance จะช่วยให้ผู้ดูแลระบบไอทีสามารถตั้งโปรแกรมให้พีซีทำการอัพเดทเครื่องเป็นประจำได้ โดยที่พีซีเหล่านี้จะเชื่อมต่อไปยังโปรแกรมบริหารระบบไอทีเพื่อตรวจเช็คสภาพของเครื่องโดยอัตโนมัติ ในขณะที่คุณสมบัติใหม่ที่ชื่อ Fast Call for Help จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถขอความช่วยเหลือในทันที ผ่านการเชื่อมต่อแบบ out-of-band โดยการคลิกที่คีย์บอร์ดตามคำสั่ง ซึ่งสามารถทำได้ถึงแม้ในขณะที่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้เลย โดยอาจจะเกิดจากระบบปฏิบัติการหรือฮาร์ดไดร์ฟเสียก็ตาม

เกรกอรี  ไบรอันท์ รองประธานและผู้จัดการทั่วไปแผนกดิจิตอลออฟฟิศ ของอินเทลกล่าวว่า อินเทล วีโปร เทคโนโลยี จัดเป็นโซลูชั่นที่จะเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายทั้งอุตสาหกรรมไอทีและอุตสาหกรรมไฮเทค และในทุกๆ ปี เราได้เปิดตัวนวัตกรรมที่เข้ามาแก้ปัญหาที่ยุ่งยากที่สุดในโลกไอทีได้เสมอ และในปี 2551 นี้ อินเทล วีโปร เทคโนโลยีจะยังคงช่วยลดภาระของแผนกไอทีต่อไป โดยการปรับเปลี่ยนให้การซ่อมแซมและดูแลระบบกลายเป็นงานอัตโนมัติ ที่ไม่เพียงจะช่วยให้ผู้ดูแลฝ่ายไอทีสามารถประหยัดเวลาได้แล้ว ยังช่วยให้เครื่องสามารถอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย

นอกจากนั้นในปี 2551 นี้ อินเทลยังได้ปรับปรุงในเรื่องของระบบรักษาความปลอดภัยโดยการเพิ่มคุณสมบัติใหม่อีก 2 ชนิดเข้าไป คุณสมบัติที่ชื่อ Access Monitor จะทำการบันทึกกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบอย่างครบถ้วนและปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งเท่ากับเป็นการป้องกันปัญหาช่องโหว่เรื่องระบบรักษาความปลอดภัยภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

            การเพิ่มโซลูชั่นใหม่สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก

     นี่เป็นครั้งแรกที่อินเทลได้พัฒนาให้อินเทลวีโปรเทคโนโลยี ให้มีคุณสมบัติที่เหมาะกับความต้องการของธุรกิจขนาดเล็กได้ เนื่องจากบริษัทขนาดเล็กอาจไม่มีผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อย่างลึกซึ้งเป็นผู้ดูแลระบบ ดังนั้นอินเทลจึงได้พัฒนา อินเทลไอทีไดเรกทอรี (Intel® IT Director) ขึ้นมาสำหรับบริษัทที่มีโน้ตบุ๊กหรือพีซีต่ำกว่า 25 เครื่อง ซึ่งจะเป็นหน้าจอ ”สรุป  ที่ใช้งานง่าย  เพื่อแสดงตัวแปรสำคัญๆ ของระบบและตัวแปรเกี่ยวกับสถานภาพของเครื่องที่กำหนดเอาไว้ และมีคุณสมบัติป้องกันการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ USB ที่มีความเสี่ยง และมีคุณสมบัติสำรองข้อมูลสำหรับให้ผู้ใช้ยังคงทำงานได้อย่างต่อเนื่องแม้ฮาร์ดไดร์ฟเกิดเสียขึ้นมาก็ตาม

          สำหรับบริษัทขนาดเล็กที่ต้องการความช่วยเหลือเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับพีซีเป็นประจำ   อินเทลได้พัฒนาIntel® Remote PC Assist Technology ที่ทำการเชื่อมต่อบริษัทเหล่านี้กับบริษัทผู้ให้บริการ ที่จะให้ความช่วยเหลือได้ในเวลาที่ผู้ใช้กดปุ่มตามคำสั่ง  ซึ่งเมื่อมีการเชื่อมต่อแล้ว  บริษัทผู้ให้บริการสามารถใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติเรื่อง out-of-band ระบบรักษาความปลอดภัย และระบบบริหารของวีโปรเทคโนโลยี เพื่อแก้ปัญหาจากทางไกลได้ โดยเทคโนโลยีนี้จะช่วยให้บริษัทผู้ให้บริหารสามารถให้บริการที่ดีขึ้นแก่ลูกค้า ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และเข้าถึงลูกค้าได้อย่างกว้างขวางกว่าเดิม ซึ่งในช่วงแรกนี้ เทคโนโลยีนี้จะมีการเริ่มใช้ในประเทศในกลุ่มทวีปอเมริกาเหนือเป็นลำดับแรก

          นอกจากนั้นอินเทลยังได้เปิดตัวเมนบอร์ดรุ่นใหม่สองรุ่นที่รองรับคุณสมบัติต่างๆของ อินเทล วีโปร เทคโนโลยีนี้ เมนบอร์ดทั้งสองรุ่นี้จะมีการวางจำหน่ายจากตัวแทนจำหน่ายของอินเทล โดยรุ่นIntel® Desktop Board DQ45CB สำหรับพีซีขนาดมาตรฐานและ Intel® Desktop Board DQ45EKสำหรับเครื่องที่มีขนาดเล็ก

           การสร้างโมเดลการประมวลผลแบบใหม่ที่ปลอดภัยมากขึ้นและบริหารได้ดีขึ้น

แผนกไอทีขององค์กรต่างๆ กำลังมองหาเทคโนโลยีชนิดใหม่ๆ เพื่อเอาไว้จัดสรรแอพพลิเคชันอยู่   เพื่อเสริมในด้านระบบรักษาความปลอดภัยที่มั่นคงยิ่งขึ้น มีระบบบริหารที่ดีขึ้น และลดมูลค่าโดยรวมของการเป็นเจ้าของระบบ ด้วยเหตุนี้อินเทลจะได้พัฒนาเทคโนโลยี Dynamic Virtual Client (หรือDVC) ขึ้นมา สำหรับโมเดลการประมวลผลกลุ่มใหม่นี้ ซึ่งเทคโนโลยีนี้สามารถทำงานร่วมกับอินเทลวีโปร เทคโนโลยี เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัยและการบริหารเอาไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลาง แต่สามารถส่งแอพพลิเคชันตามความต้องการไปยังพีซีและโน้ตบุ๊กที่กำลังทำงานอยู่ การทำงานในลักษณะนี้ของ DVC จะช่วยให้ผู้ใช้ทำงานได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ ช่วยให้การบริหารระบบไอทีและระบบรักษาความปลอดภัยสามารถทำได้ง่ายขึ้น โดยแตกต่างจากโมเดล thin-clientตรงที่ DVC ไม่ได้สร้างภาระต่อศูนย์ข้อมูลแต่อย่างใด โดยเร็ว ๆ นี้บริษัทซิทริกซ์ เลอโนโว และไมโครซอฟท์ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์และโปรแกรมที่เกี่ยวกับ DVC ที่สามารถใช้จุดเด่นของเทคโนโลยี อินเทล วีโปร ออกสู่ตลาดแล้ว



-    Intel Hyper-Threading Technology
เทคโนโลยี Hyper Threading เป็นเทคโนโลยีใหม่ของ โปรเซสเซอร์จากค่าย Intel ที่ทำให้ได้งานเพิ่มมากขึ้น แต่ยังคงใช้เวลาเท่าเดิม ปกติแล้วการทำงานของซีพียู เมื่อมี โปรเซส (งานที่จะเข้าประมวลผลใน CPU) จำนวนมากกว่า 1 โปรเซสเข้าคิวเพื่อรอการประมวลผล ระบบปฏิบัติการจะทำการจัดสรรเวลาแต่ละโปรเซส (อาจจะเท่ากันหรือไม่ก็ได้) เพื่อสลับการทำงานแต่ละโปรเซส ในการเข้าไปประมวลผลที่ CPU แต่เนื่องด้วยการทำงานของ CPU เร็วมากจนเหมือนว่าโปรเซสสามารถทำงานได้พร้อมๆกันหลายโปรเซส และจะเห็นเครื่องทำงานช้าเมื่อมีโปรเซสจำนวนมากหรือการมีโปรเซสขนาดใหญ่รอคิวเพื่อไปประมวลผลที่ CPU ด้วยเหตุนี้ทางอินเทลได้คิดค้นพัฒนา โปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ที่สามารถกำจัดข้อบกพร่องดังกล่าว

ด้วยเทคโนโลยี ไฮเปอร์ เทรดติ้ง (Hyper-Threading) ระบบปฏิบัติการจะมองเห็น CPU เป็น 2 ตัว (ทั้งที่จริงมีแค่ตัวเดียว) ทำให้การประมวลผล สามารถทำงานได้พร้อมๆ กัน ถึง 2 โปรเซส ทำให้สามารถลดเวลาการทำงานลงได้มาก (โดยอินเทลอ้างว่า สามารถเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวม 25-30%)

ทำอย่างไรให้ PC ของท่านใช้งานเทคโนโลยีนี้ได้
  • ใช้ CPU ของอินเทล Pentium 4 2.4C ขึ้นไป (ต้องลงท้ายด้วย C )
  • เมนบอร์ดที่สนับสนุน Hyper-Threading
  • เปิดการทำงาน Hyper-Threading ที่ ไบออส
  • ระบบปฏิบัติการ Windows XP ขึ้นไป (Home, Professional) Linux ,Unix

-     Intel Virtualization Technology

ทำให้ Virtualization เป็นจริง 
Virtualization
ทำให้คุณสามารถเปลี่ยนเซิร์ฟเวอร์หนึ่งเครื่องไปเป็นระบบ เสมือนหลายระบบ หรือหลายพาร์ทิชั่น ซึ่งอนุญาตให้สามารถใช้งานหลายระบบปฏิบัติการและหลายแอพพลิเคชั่นได้อย่างเป็นอิสระบนแพลตฟอร์มเดียว Intel® Virtualization Technology 2 เป็นการพัฒนาการของฮาร์ดแวร์ซึ่งถูกรวมอยู่ในแพลตฟอร์มเซิร์ฟเวอร์รุ่นถัดไปของ Intel ซึ่งช่วยเพิ่มเสถียรภาพในการทำงานให้กับเทคโนโลยีนี้ซึ่งเป็นการทำงานแบบเสมือนในแบบซอฟท์แวร์เพียงหนึ่งเดียวในปัจจุบัน
ในปัจจุบัน การใช้งานเซิร์ฟเวอร์แบบเสมือนโดยทั่วไปทำโดยการใช้ฮาร์ดแวร์เฉพาะซึ่งพบได้ในศูนย์ข้อมูล แต่เมื่อเวลาผ่านไป ดูเหมือนว่าการใช้งานแบบนี้จะเป็นที่นิยมของธุรกิจที่มีขนาดเล็ก เทคโนโลยีนี้จะช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถนำมาใช้งานได้ง่ายขึ้นและช่วยปรับปรุงความน่าเชื่อ ความต่อเนื่องและความปลอดภัยในการทำงานให้กับธุรกิจขนาดเล็กได้เป็นอย่างดี
นี้คือส่วนหนึ่งของข้อดีที่ Virtualization สามารถให้กับลูกค้าของคุณได้:

การผนวกรวมของเซิร์ฟเวอร์ที่มีความยืดหยุ่น: ระบบปฏิบัติการและแอพพลิเคชั่นที่หลากหลายสามารถผนวกรวมกันได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย

ความต่อเนื่องในการทำงานและความปลอดภัยที่ดีขึ้น: ความผิดพลาดของซอฟท์แวร์และการโจมตีในรูปแบบดิจิตอลจะถูกแยกออกจากกันสำหรับแต่ละพาร์ทิชั่นเสมือน และพาร์ทิชั่นสำรองสำหรับความผิดพลาดสามารถสร้างขึ้นใช้งานได้ตามความต้องการอย่างง่ายดายและประหยัดค่าใช้จ่าย

การเปลี่ยนย้ายระบบปฏิบัติการและฮาร์ดแวร์ที่ง่ายดายกว่าเดิม: การใช้งานเซิร์ฟเวอร์แบบ Virtualization ช่วยให้สามารถทำการเปลี่ยนย้ายแอพพลิเคชั่นเก่าและระบบปฏิบัติการเวอร์ชั่นที่มีอยู่เดิมไปยังพาร์ทิชั่นแบบเสมือนได้โดยไม่ต้องทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขใดๆ เป็นการยืดอายุการใช้งานแอพพลิเคชั่นเก่าโดยมีค่าใช้จ่ายไม่มากและมีความเสี่ยงน้อย

การทดสอบและการพัฒนาเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด: แพลตฟอร์มเดี่ยวที่สามารถรองรับสภาพแวดล้อมการทดสอบที่หลากหลายและการติดตั้งใช้งานซอฟท์แวร์แต่ละตัวซ้ำๆกัน

เพิ่มความคล่องตัวทางธุรกิจ: ระบบแบบเสมือนสามารถจัดเตรียมเพื่อรองรับหรือปรับขนาดได้ภายในไม่กี่นาทีเพื่อรองรับแอพพลิเคชั่นใหม่, ภาระงานที่เพิ่มขึ้น และการบำรุงรักษาระบบ

Intel ช่วยในการสร้างเซิร์ฟเวอร์แบบเสมือนที่มีเสถียรภาพมากขึ้น ทรงพลังมากขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย Intel® Virtualization Technology ซึ่งรวมอยู่ในเซิร์ฟเวอร์ยุคถัดไปซึ่งใช้ Intel® Xeon® Processor หมายเลข 5000 พบคำตอบของคำถามที่ถูกถามบ่อยเกี่ยวกับ Intel® Virtualization Technology ได้ใน Intel® Software Network  คำอธิบาย: http://www.intel.com/plt/cd/channel/channel/pix/bttn_apac_tha.gif


1 Intel® Virtualization Technology
ต้องการระบบคอมพิวเตอร์ที่มีโปรเซสเซอร์ ชิปเซ็ต ไบออส virtual machine monitor (VMM) และสำหรับการใช้งานบางประเภท จำเป็นต้องเปิดใช้งานจากแพลตฟอร์มซอฟท์แวร์ การทำงาน ประสิทธิภาพ หรือข้อดีอื่นๆจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการกำหนดค่าของฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ ไบออสและแอพพลิเคชั่น VMM สำหรับใช้งานกับ Intel Virtualization Technology ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา